YES!

เราออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์
คุณกำลังมองหาเว็บไซต์ใหม่อยู่ใช่ไหม?

มาร่วมงานกับเราสิ!

บริษัทออกแบบเว็บไซต์
ย่านใจกลางกรุงเทพ

เรารับออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือองค์กรขนาดใหญ่ด้วยเอกลักษณ์แบบเฉพาะที่เรามี ในการรังสรรค์ภาพลักษณ์ใหม่บนเว็บไซต์ของคุณให้ดูดีขึ้นกว่าเดิม
เราพร้อมที่จะรังสรรค์ผลงานตามที่คุณต้องการ เพราะสำหรับเราการทำเว็บไซต์ควรจะเป็นเรื่องง่าย สนุก และเป็นประโยชน์กับธุรกิจของคุณมาสร้างประสบการณ์ที่ดีตั้งแต่ครั้งแรกกันเถอะ!

ลูกค้าที่เข้ามา

SAID YES!

กับเรา

หน้าแรก 1
หน้าแรก 2
หน้าแรก 3
หน้าแรก 4
หน้าแรก 5
หน้าแรก 6
หน้าแรก 7
หน้าแรก 8
หน้าแรก 9
หน้าแรก 10
หน้าแรก 11
หน้าแรก 12
หน้าแรก 13
หน้าแรก 14
หน้าแรก 15
หน้าแรก 16
หน้าแรก 17
หน้าแรก 18
หน้าแรก 19
หน้าแรก 20
หน้าแรก 21
หน้าแรก 22
หน้าแรก 23
หน้าแรก 24
หน้าแรก 25
หน้าแรก 26
หน้าแรก 27
หน้าแรก 28
หน้าแรก 29
หน้าแรก 30
หน้าแรก 31
หน้าแรก 32
หน้าแรก 33
หน้าแรก 34
หน้าแรก 35
หน้าแรก 36
หน้าแรก 37
หน้าแรก 38
หน้าแรก 39
หน้าแรก 40

ผลงานของเรา

WE BLEND CREATIVITY AND TECHNOLOGY TO PUSH THE BOUNDARIES OF BANGKOK WEB DESIGN.

เราผสมผสาน ความคิดสร้างสรรค์ เข้ากับ เทคโนโลยี เพื่อ

ทลายกำแพงด้านการออกแบบเว็บไซต์ แห่งเดียวในกรุงเทพมหานคร

เทคโนโลยีที่เราใช้

เรามีความเชี่ยวชาญและมีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อส่งมอบผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ในทุกๆครั้ง

หน้าแรก 50
หน้าแรก 51
หน้าแรก 52
หน้าแรก 53
หน้าแรก 54
หน้าแรก 55
หน้าแรก 56
หน้าแรก 57
หน้าแรก 58
หน้าแรก 59
หน้าแรก 60
หน้าแรก 61
หน้าแรก 62
หน้าแรก 63
หน้าแรก 64
หน้าแรก 65
หน้าแรก 66
หน้าแรก 67
หน้าแรก 50
หน้าแรก 51
หน้าแรก 52
หน้าแรก 53
หน้าแรก 54
หน้าแรก 55
หน้าแรก 56
หน้าแรก 57
หน้าแรก 58
หน้าแรก 59
หน้าแรก 60
หน้าแรก 61
หน้าแรก 62
หน้าแรก 63
หน้าแรก 64
หน้าแรก 65
หน้าแรก 66
หน้าแรก 67

บริการของเรา

หน้าแรก 86
เรานำเสนอแนวทางการออกแบบสุดล้ำ เพื่อคุณโดยเฉพาะ

บริษัท เยส เว็บดีไซน์ สตูดิโอ นำเสนอวิธีการแก้ไขและปรับปรุงเว็บไซต์อย่างสร้างสรรค์ด้วยคุณภาพผ่านทักษะอันเชี่ยวชาญที่มีมามากกว่า 1 ปี เพื่อนำคุณไปสู่เป้าหมายที่สำเร็จ

0
%
SATISFACTION
หน้าแรก 87
หน้าแรก 87

ภาพรวม

ธุรกิจของเรา

เยสเว็บ ดีไซน์ สตูดิโอ เป็นบริษัทออกแบบเว็บไซต์ใจกลางกรุงเทพ ที่ไม่เคยหยุด นำเสนอการออกแบบเว็บไซต์และวิธีการพัฒนาที่ทันสมัย ในทุกๆความคิดสร้างสรรค์ที่กลั่นกรองออกมา รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีนี้ เพื่อสร้างระบบนิเวศดิจิตอลที่แข็งแกร่งขึ้นมา

เราเป็นมากกว่าแค่การดีไซน์แต่เรายังมีสร้างบรรยากาศในการทำงาน เพื่อจุดประกายความคิดและไอเดียใหม่ๆให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ เพื่อเชื่อมต่อธุรกิจและทำให้ลูกค้าของเราประสบความสำเร็จ

CRM
Connect with your customers and build lasting relationships with data collecting, information storage, discovering sales opportunities and more!
AI
Develop a customised chat AI for your website for customer experience.
INNOVATE
We innovate new digital solutions and promising tech projects.
PARTNER
We always are looking for new partners including agencies to further expand our services.

เชื่อสิว่าเราใส่ใจ

สัญญาได้ไหม? ว่าจะคุณอ่านบทความที่เต็มไปด้วยสาระเหล่านี้ก่อนที่คุณจะทำเว็บไซต์ใหม่หรือจ้างบริษัทออกแบบเว็บไซต์ เพื่อที่คุณจะได้แนวคิดที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ พร้อมทั้งข้อมูลที่ถูกต้องในการทำเว็บไซต์

มกราคม 11, 2022
เว็บไซต์คุกกี้คืออะไร ปลอดภัยหรือไม่สำหรับผู้ใช้และผู้เก็บข้อมูล

เห็นชื่อหัวข้อแล้ว บางคนอาจจะยังงงอยู่ว่าบทความนี้กำลังจะพูดถึงขนมอยู่หรือเปล่าน้าา เปล่าครับ สิ่งที่พวกเราอยากจะมาแชร์เป็นสาระความรู้ให้ทุกท่านได้อ่านจะเกี่ยวกับเรื่อง เว็บไซต์ โดยตรงเลยครับ สำหรับคนที่กำลังมีแพลนอยากจะมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองหรือคนทั่วไปที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว

ทุกคนเคยสงสัยมั้ยครับว่า ทำไมบางทีเว็บไซต์มักจะจดจำรหัสการเข้าใช้งานเราได้ หรือบางครั้งที่เราเคยเข้าไปเลือกซื้อของตามเว็บไซต์สั่งซื้อของออนไลน์ เลือกเก็บรายการสั่งซื้อของเราไว้ในตะกร้าสินค้าและทำการออกจากหน้าเว็บไซต์ไปโดยที่ยังไม่ทำการชำระเงิน แต่เมื่อเรากลับเข้ามาที่เว็บไซต์ดังกล่าวใหม่อีกทีก็พบว่า สินค้าที่เราเก็บไว้ในตะกร้านั้นยังคงอยู่ นั่นหมายความว่าอย่างไร เคยสงสัยกันบ้างมั้ยครับ 🙂 เจ้าสิ่งนี้แหละครับที่เรียกว่าคุกกี้ แต่คุกกี้เองก็มีอยู่หลายแบบด้วยกัน ซึ่งจะถูกจำแนกการทำงานออกได้ดังต่อไปนี้

  • ในการทำงานแบบแรก คุกกี้มันจะจดจำรหัสของคุณ เมื่อคุณกด save รหัสผ่านบนเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่ง ซึ่งนั่นหมายความว่า คุณไม่จำเป็นต้องใส่รหัสผ่านอีกครั้งเมื่อมีการเข้าไปเว็บไซต์นั้นอีกครั้ง
  • จดจำเว็บไซต์ที่คุณเคยเข้าในอดีต และคุณสามารถย้อนดูประวัติการเข้าชมได้ในเมนู ประวัติการเข้าชม ของเว็บบราวเซอร์นั้นๆ
  • เก็บข้อมูลตะกร้าสินค้าของคุณในเว็บไซต์ ecommerce ที่คุณได้เคยหยิบสินค้าไว้บนเว็บบราวเซอร์
  • แสดงโฆษณาที่ตรงเป้าหมายตามพฤติกรรมการท่องเว็บของคุณ
  • ตรวจสอบรายละเอียดการเข้าสู่ระบบของผู้ใช้

โดยเริ่มตั้งแต่ปีที่ผ่านมาเราจะได้ยินบ่อยๆในเรื่องของข่าวที่เกี่ยวกับกฎระเบียบข้อบังคับที่ว่าด้วยเรื่องของการเก็บข้อมูลของผู้ใช้โดยไม่ได้รับอนุญาติ หรือที่เราเรียกว่า PDPA (ใช้ในไทย) GDPR(ใช้ต่างประเทศ) แต่ในไทย PDPA นั้นก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะเริ่มใช้เมื่อใด แต่ในระหว่างที่ยังไม่ได้มีการใช้งานที่เป็นทางการนั้น ทางผู้ประกอบการหรือเจ้าของเว็บไซต์ส่วนใหญ่ก็จะใช้วิธีการแจ้งกับผู้ใช้ว่าจะมีการเก็บข้อมูลผู้ใช้อะไรบ้างเพื่อการให้บริการผู้ใช้ที่มีประสิทธิภาพ โดยที่คุณสามารถจะเลือกที่จะยืนยันที่จะให้ทางผู้ให้บริการเก็บข้อมูลหรือไม่ให้มีการเก็บข้อมูล ทั้งนี้บางเว็บไซต์คุณอาจจะใช้งานไม่ได้เนื่องจากนโยบายของเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการยินยอมให้ข้อมูลจึงจะเข้าถึงเว็บไซต์ได้ ซึ่งวิธีการเก็บข้อมูลผู้ใช้ของแต่ละผู้ใช้บริการก็จะใช้เจ้าคุกกี้นี่แหละครับในการเก็บข้อมูลต่างๆเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการให้บริการและนำไปวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจในทางธุรกิจด้วยเช่นกัน

ในบทความนี้เราจะพูดถึง…

  • ข้อดีของ คุกกี้
  • ข้อเสียของ คุกกี้
  • ประเภทของคุกกี้
  • สรุป

ข้อดีของคุกกี้

เมื่อพูดถึงคุกกี้แล้วในผู้ให้บริการส่วนใหญ่หรือเกือบจะทุกๆผู้ให้บริการจะมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ เช่น พฤติกรรมการใช้งานของคุณ ซึ่งนั่นหมายความว่าข้อมูลของคุณจะถูกนำไปวิเคราะห์เพื่อพัฒนาระบบหรือรูปแบบการใช้งานเว็บไซต์นั้นๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์และตอบโจทย์ต่อผู้ใช้มากที่สุด และข้อดีของคุกกี้ก็จะประกอบไปด้วย

  • คุกกี้จะมีการจดจำเวลาที่คุณเข้าไปยังเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งและจะปรากฏโฆษณาที่มาจากแพลทฟอร์มต่างๆ ซึ่งคุณจะเห็นโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับคุณเท่านั้น
  • คุกกี้จะมีการบันทึกทั้งชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของคุณเวลาที่คุณเข้าใช้งาน และเวลาที่คุณเข้าใช้งานเว็บอื่นแล้วกลับมายังเว็บไซต์เดิม คุณก็ยังสามารถเข้าใช้งานได้โดยไม่ต้องกรอกรหัสผ่านเพื่อเข้าใช้งานอีกครั้ง *แต่บางบราวเซอร์ผู้ใช้อาจจะเห็นว่าเบราเซอร์จะมีการขึ้นแจ้งเตือนว่าจะให้มีการบันทึกรหัสผ่านหรือไม่ ถ้าคุณเลือกบันทึก คุกกี้ก็จะบันทึกรหัสผ่านของคุณทันที เพราะฉะนั้นแล้วก็ถือเป็นข้อดีอีกข้อที่เราไม่จำเป็นต้องกรอกรหัสเพื่อเข้าสู่ระบบอีกครั้งก็เป็นการลดขั้นตอนลงได้
  • คุกกี้สามารถจดจำพฤติกรรมการใช้งานเบราเซอร์ของคุณได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่คุณค้นหาข้อมูลอะไรบ่อยๆเรา Search engine ก็จะปรากฏเว็บไซต์ที่เข้าชมบ่อยเป็นอันดับต้นๆของผลลัพธ์ของการค้นหา

ข้อเสียของคุกกี้

ในทางกลับกันมันก็มีข้อเสียของคุกกี้อยู่เช่นเดียวกัน และคุณก็อาจจะต้องพิจารณาดูเว็บไซต์ที่มีการขอการยินยอมการให้ข้อมูลจากคุณ ว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

  • แน่นอนว่าในบางครั้งอาจจะมีบุคคลที่สามหรือหมายความว่าอาจจะมีเว็บไซต์อื่นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลอันเป็นส่วนตัวของคุณได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้นก่อนจะกดยินยอมให้จดจำหรือจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวควรจะอ่านนโยบายการเก็บข้อมูลให้ละเอียดรอบคอบ และยิ่งเป็นเว็บไซต์ที่ต้องมีการทำธุรกรรมทางการเงินแล้วยิ่งต้องเพิ่มความรอบคอบขึ้นอีกหลายเท่า เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดคุณจะได้ไม่ต้องมาเสียเวลาแก้ไขในภายหลัง 
  • ใช่ครับ ในบางครั้งคุณอาจจะรู้สึกว่ามีบางคนกำลังดูพฤติกรรมการเข้าเว็บไซต์ของคุณอยู่ ซึ่งทำให้เรารู้สึกได้ว่าไม่ได้รับความเป็นส่วนตัว
  • ถ้าคุณไม่รู้ว่าจะลบคุกกี้ที่ไหนก็เป็นเรื่องยากที่จะให้บางโฆษณาหรือไวรัสบางตัวที่มาจากบุคคลที่สามหรือ Third party ที่ค่อยยิงโฆษณานั้นมายังเบราเซอร์ของคุณไม่หยุด ก็จะสร้างความรำคาญให้คุณได้พอสมควร
  • สิ่งที่อันตรายก็คือ ไวรัส บางตัว จะปลอมตัวเป็นคุกกี้และหลอกให้คุณกดยินยอมเพื่อเข้าถึงผลลัพธ์การค้นหาของคุณ แบบนี้คุณต้องระมัดระวังเป็นพิเศษก่อนที่จะเผลอกดยินยอมไปมั่วๆ มิฉะนั้นแล้วผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นอาจเป็นเรื่องกวนใจของคุณไม่ใช่น้อย

สิ่งสำคัญคือคุณต้องเข้าใจว่าคุกกี้ทำงานอย่างไรและคุณจะสามารถควบคุมความเป็นส่วนตัวบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร โดยไม่ต้องใช้เทคนิคอะไรมาก เรามาทำความเข้าใจกันให้ชัดเจนกันว่า คุกกี้คืออะไรมีคุกกี้ประเภทใดบ้างและคุกกี้แต่ละประเภทรวบรวมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์คุณและประวัติการเข้าชมของคุณอย่างไร

การทำงานของคุกกี้มี 5 กระบวนการด้วยกัน

  1. คุณเข้าชมเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่ง
  2. เว็บเซิร์ฟเวอร์ส่งข้อความสั้นๆ ไปยังเว็บเบราว์เซอร์ของคุณ
  3. เว็บเซิร์ฟเวอร์จะบันทึกข้อความดังกล่าวในรูปแบบของไฟล์ “cookie.txt”
  4. คุณคลิกไปยังหน้าอื่นๆของเว็บไซต์ เช่น หน้าสินค้า
  5. เว็บเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อความกลับไปยังเว็บเบราว์เซอร์ว่าคุณกำลังดูหน้าไหนของเว็บไซต์อยู่

ประเภทของคุกกี้

ประเภทของคุกกี้ตัวหลักๆที่ใช้งานบนเว็บไซต์ประกอบไปด้วย

  1. Session cookies
  2. Persistent cookies
  3. Third-party cookies
  4. First-party cookies
  5. Marketing cookies
  6. Performance and analytical cookies

ไปดูความหมายการใช้งานของแต่ละแบบกันครับว่ามีการใช้งานอย่างไร

1.Session cookies หรือ หน่วยความจำชั่วคราวของเว็บไซต์

คุกกี้เซสชั่นนี้จะทำงานก็ต่อเมื่อคุณเปิดเว็บไซต์เท่านั้น และเมื่อคุณปิดเว็บไซต์นี้คุกกี้เซสชั่นนี้ก็จะหายไป ไม่ได้มีการเก็บหรือบันทึกใดๆบนคอมพิวเตอร์ของคุณ คุกกี้จะทำงานแบบไหนบ้าง…

  • เมื่อมีการใช้งานตะกร้าสินค้าบนเว็บไซต์อีคอมเมิชทั้งหลาย
  • เรียกใช้ข้อมูลเดิมโดยไม่ต้องให้ข้อมูลซ้ำ เช่น ลงชื่อเข้าใช้งาน

2.Persistent Cookies หรือถ้าจะแปลตรงๆก็คือคุกกี้ที่อยู่แบบถาวร

คุกกี้ถาวรจะมีข้อแตกต่างกันเล็กน้อยกับคุกกี้ตัวอื่่นๆ คุกกี้เหล่านี้จะอยู่ในคอมพิวเตอร์ของคุณเมื่อคุณปิดเบราว์เซอร์ Persistent Cookies ได้รับการออกแบบมาเพื่อจดจำการตั้งค่าของคุณในช่วงเวลาหนึ่งไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดการเข้าสู่ระบบ หรือสินค้าที่อยากได้เวลาที่คุณมีการช็อปปิ้งหรือรายการที่คุณดูล่าสุด

3.Third-party Cookies หรือคุกกี้ของบุคคลที่สาม

คุกกี้ประเภทนี้อาจจะไม่ค่อยได้รับความนิยมในสมัยนี้มากนัก หรือบอกได้ว่ากำลังจะล้าสมัยไปนั่นเอง แต่ศึกษาไว้ก็ดีครับ คุกกี้ชนิดนี้เป็นคุกกี้ที่อนุญาตให้ third party เข้าถึงและแสดงโฆษณาต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์ อธิบายเป็นตัวอย่างง่ายๆคือ หากคุณคลิกโฆษณาในเว็บไซต์ A และกำลังจะเปิดเว็บไซต์ B หลังจากนั้นคุณจะได้รับคุกกี้จากเว็บไซต์ A บนคอมพิวเตอร์ของคุณทันที

4.First-party cookies หรือคุกกี้ของบุคคลที่หนึ่ง

สำหรับคุกกี้ของบุคคลที่หนึ่ง อย่าจำสับสนกับคุกกี้บุคคลที่สามนะครับ เพราะคุกกี้เหล่านี้จะมีการปรับปรุงการทำงานโดยรวมของเว็บไซต์และเจ้าของเว็บไซต์จะเป็นผู้กำหนดคุกกี้นั้นขึ้นมา ซึ่งจะมีความแตกต่างจากคุกกี้เซสชัน ที่หายไปทันทีหลังจากเซสชันของคุณได้สิ้นสุดลง แต่ในคุกกี้ประเภทนี้จะยังคงอยู่ในคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ของคุณ ดังนั้นเมื่อคุณเข้าใช้งานเว็บไซต์ในครั้งต่อไปจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณไม่จำเป็นต้องลงชื่อเข้าสู่ระบบอีกครั้ง

5.Marketing Cookies หรือคุกกี้ทางการตลาด

คุกกี้ทางการตลาดคล้ายกับคุกกี้ของบุคคลที่สาม โดยหลักแล้วจะใช้เพื่อแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับคุณ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของคุณในขณะที่คุณท่องอินเทอร์เน็ต

6.Performance and analytical cookies หรือคุกกี้ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์

คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้บริษัทหรือเจ้าของเว็บไซต์สามารถประเมินประสิทธิภาพและความสามารถในการใช้งานโดยรวมของเว็บไซต์ของผู้เข้าชมได้  เช่น ระยะเวลาการเข้าชมเว็บไซต์ของผู้เข้าชม สิ่งที่ผู้เข้าชมเข้าถึงข้อมูลในเว็บไซต์ 

สรุป

เพราะฉะนั้นแล้วเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้องเราจำเป็นจะต้องใช้คุกกี้ในการจดจำพฤติกรรมการใช้งานของผู้เข้าชม และในแง่ของผู้เข้าชมนั้นควรจะมีการพิจารณาในทุกครั้งก่อนที่จะยินยอมให้ข้อมูลเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน รวมถึงในแง่ของผู้ให้บริการเช่นเดียวกันถ้าเว็บไซต์ของเรามีการเก็บข้อมูลผู้ใช้ควรจะมี consent ให้ผู้ใช้อ่านนโยบายการเก็บข้อมูลและยินยอมที่จะให้ข้อมูลเพื่อไม่ให้เกิดการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจเรื่องคุกกี้มากขึ้นนะครับ ติดตามบทความทางการตลาดที่คุณสามารถนำไปต่อยอดในธุรกิจของคุณได้ที่นี่ Yes Web Design Studio

————————————————————————————————————–

และช่องทางอื่นๆที่คุณก็สามารถแวะไปทักทายกันได้ที่…

Facebook : yeswebdesignstudio

Instagram : yeswebdesign_bkk

Twitter : yeswebdesignbkk

พฤศจิกายน 9, 2020
เผย 5 เหตุผล การทำ ChatBot ที่ทำให้ธุรกิจเจ๊ง | ปิดการขายไม่ได้ | ฐานลูกค้าลด

“ขออภัยด้วยค่ะ เราไม่เข้าใจ” 

“ขณะนี้ไม่ใช่เวลาทำงานของเรา รบกวนติดต่อกลับมาอีกครั้ง”

“เราไม่เข้าใจคำถามของคุณ กรุณาแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติม”

และประโยคอื่นๆ

บ่อยครั้งที่ความพึงพอใจของลูกค้าลดลง หลังจากแชทสอบถามข้อมูลหรือบริการกับ ChatBot ในเว็บไซต์แล้วไม่ได้รับประสบการณ์ดี ๆ จากการพูดคุยผ่านทางแชทบอท จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ChatBot เงียบเป็นป่าช้าหรือไม่มีใครติดต่อเข้ามา เพราะอะไร? ระบบของ ChatBot ที่ใช้ไม่มีประสิทธิภาพพอ? ข้อมูลที่ให้ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า? พฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไป การทำ ChatBot ให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้านั้นจะต้องทำอย่างไร  บทความนี้ผมจะมาเผยหมดเปลือกว่า เพราะสาเหตุอะไรที่ทำให้การทำ ChatBot ส่งผลให้ยอดการขายตก ฐานลูกค้าหาย จนทำให้ธุรกิจไม่สามารถไปต่อได้

แชทบอท (ChatBot) คืออะไร

แชทบอท (ChatBot) เป็น Ai ชนิดหนึ่งที่สามารถเรียนรู้และตอบโต้บทสนทนาได้โดยทันทีเสมือนคุณกำลังสนทนาอยู่กับแอดมิน หลักการทำงานของมันจะทำงานตามชุดคำสั่งที่เราตั้งไว้ เช่น เมื่อลูกค้าพิมพ์คำนี้มา เราจะให้แชทบอทตอบกลับแบบไหน หรือเป็นชุดคำถามให้ลูกค้าได้เลือกเพื่อดูคำตอบ เหตุผลที่ต้องทำแชทบอทขึ้นมา นั่นก็เพื่อรองรับการทำงานของมนุษย์ เพราะบางทีแอดมินอาจจะไม่สามารถอยู่เพื่อตอบแชทได้ตลอดเวลา การสร้างแชทบอทขึ้นมาก็เปรียบเสมือนพนักงานต้อนรับที่คอยรับแขก ที่จะช่วยสร้างความสัมพันธืกับลูกค้า โดยไม่ต้องให้ลูกค้ารอนาน แต่ก็อย่างว่า ถ้าคุณออกแบบโครงสร้างการทำงานของแชทบอทไม่ดีและไม่ตอบสนองต่อพฤติกรรมของลูกค้าก็อาจจะทำให้เป็นสาเหตุเช่นเดียวกับหัวข้อนี้ก็เป็นได้

อุปสรรคในการสร้างแชทบอทก็คือการออกแบบ UX 

ให้ตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าที่มีการสื่อสารผ่านทาง ChatBot ”

เหตุผลข้อที่ 1 : ไม่กำหนดจุดประสงค์ของแชทบอท (Undefined Objective)

หนึ่งในสิ่งสำคัญที่หลายคนพลาด! คือไม่วางแผนหรือร่างสคริปก่อนสร้าง Chatbot ทำให้การโต้ตอบระหว่างการแชทไม่ลื่นไหล หรือลูกค้าไม่เข้าใจในสิ่งที่แชทบอทนั้นสื่อ เช่น บริษัทที่ให้บริการเป็นเอเจนซี่จะไม่ต้องการเร่งปิดการขายในแชท แต่ต้องการติดต่อกลับลูกค้าเพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเติม ในขณะที่ผู้ให้บริการที่พักหรือโรงแรมจะต้องการให้ลูกค้าจองที่พักในวันและเวลาที่ต้องการ ดังนั้นการวางสคริปแชทบอทของทั้ง 2 บริษัท ก็ต้องต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง และหากเราไม่กำหนดจุดประสงค์ที่แท้จริงไว้ อาจทำให้เสียโอกาสในการขายไปอย่างน่าเสียดาย

เหตุผลข้อที่ 2 : การโต้ตอบที่ไม่เคลียร์และไม่ตรงจุด (Misaligned messaging)

แชทบอทที่ดีควรมีบทสนทนาที่ สั้น เข้าใจง่าย และถามตรงจุด ไม่ควรมีคำถามที่กำกวมหรือคำถามปลายเปิด ที่อาจทำให้ลูกค้าเกิดความสับสนในการพิมพ์โต้ตอบกลับมา

กรณีศึกษา จากแบรนด์หนึ่งที่มีการสร้างแชทบอทเพื่อตอบโต้ลูกค้า คุณจะเห็นจากภาพตัวอย่างว่า ลูกค้ามีการเลือกคำถามที่ว่า Is anyone available to chat? จากนั้นก็เป็นชุดคำถามที่ตอบกลับมาเป็นเวลาทำการและการแสดงความไม่สะดวกในการให้บริการที่ล่าช้า ถ้ามองในมุมของการให้บริการลูกค้านั่นอาจจะเป็นข้อความตอบกลับที่มีจุดอ่อน เพราะพฤติกรรมของลูกค้าปัจจุบันนี้ค่อนข้างใจร้อน และต้องการคำตอบในทันทีหรือหากคุณไม่สามารถให้คำตอบในทันที อาจจะต้องให้ข้อมูลการติดต่อช่องทางอื่น ใส่เพิ่มเข้าไปในข้อความตอบกลับอัตโนมัติข้อความนั้น และด้วยกรณีตัวอย่างนี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ลูกค้าเปลี่ยนใจไปซื้อสินค้าของคู่แข่งได้ก็เป็นได้

หน้าแรก 94

เหตุผลข้อที่ 3 : โต้ตอบไม่เป็นธรรมชาติ (Lack of Proper Interaction)

การโต้ตอบที่เหมือนคอมพิวเตอร์กำลังสนทนากับเรา อาจทำให้เกิดความกลัวจะโต้ตอบ หรือการกรอกข้อมูลส่วนตัวลงไปในแบบฟอร์มของบริษัทหรือร้านค้า ดังนั้นแชทบอทที่ดีควรมีบทสนทนาที่เหมือนคนกับคนคุยกัน

เหตุผลข้อที่ 4 : ตัดจบการสนทนาหรือปิดการขายด้วยแชทบอท (Conversational dead ends)

การตัดจบการสนทนาด้วยแชทบอทโดยเก็บข้อมูลลูกค้าเพื่อติดต่อกลับ หรือให้ลูกค้าจ่ายเงินออนไลน์ในหน้าแชททันที จะทำให้เสียโอกาสเพราะลูกค้าส่วนใหญ่มักปิดหน้าแชทไป ทำให้ไม่สามารถสร้างการรับรู้ ความประทับใจ และนำเสนอผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของแบรนด์

เหตุผลข้อที่ 5 : ไม่ทำ Action-based marketing

หลายคนการทำ Lead generation ที่จะช่วยเก็บข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลูกค้า ซึ่งนำมาใช้ปรับแต่งแชทบอทให้มีประสิทธิภาพและหลากหลายมากขึ้น เช่น การติดตามคำสั่งซื้อ การนำเสนอสินค้าและโปรโมชั่นใหม่ ๆ การให้คำแนะนำ การตอบคำถาม และอีกมากมาย

สรุป

การมีแชทบอท (ChatBot) บนเว็บไซต์ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะในทางการตลาดถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและแสดงถึงความเอาใจใส่ลูกค้า ซึ่งไม่ว่าคุณจะเลือกใช้ ChatBot ของเจ้าไหนก็ตาม สิ่งที่สำคัญก็คือการมองให้เห็นภาพชัดเจนว่าลูกค้าต้องการอะไรและสิ่งที่เราจะมอบให้ลูกค้าตอบโจทย์หรือไม่ เราแนะนำว่าให้คุณพยายามเก็บรวบรวมข้อมูลความต้องการของลูกค้าในทุกๆช่องทางและออกแบบข้อความตอบโต้อัตโนมัติให้ครบถ้วนตามความต้องการของลูกค้าที่คุณรวบรวมมา เราหวังว่าทั้ง 5 เทคนิคนี้จะช่วยให้คุณปิดการขายได้ง่ายขึ้น และเพิ่มฐานลูกค้าให้มากขึ้น 

“ เพิ่มความเป็นมนุษย์ให้ ChatBot เพื่อดึงลูกค้าให้กลับมาหาเราเรื่อยๆ ”

ปรึกษาการสร้างแชทบอท (ChatBot) ให้เว็บไซต์และช่องทางออนไลน์อื่นๆ 

  • ลดต้นทุนการจ้างพนักงาน
  • เพิ่มความพึงพอใจให้ลูกค้า 100%
  • เพิ่มฐานลูกค้าและ Lead ให้มากขึ้น
  • ปิดการขายง่ายขึ้น 
ติดต่อเลย 096-879-5445 หรือ แอดไลน์ @yeswebdesign ————————————————————————————————————– และช่องทางอื่นๆที่คุณก็สามารถแวะไปทักทายกันได้ที่… Facebook : yeswebdesignstudio Instagram : yeswebdesign_bkk Twitter : yeswebdesignbkk  ————————————————————————————————————–

References

https://hostingtribunal.com/blog/speed-up-website/#gref https://moz.com/learn/seo/page-speed https://www.impactplus.com/blog/website-load-time
มกราคม 11, 2022
Trigger ประเภทต่างๆ ใน Google Tag Manager

Google Tag Manager

บทความโดย Yes Web Design Studio

คุณจะเข้าใจบทความนี้ได้มากขึ้นถ้าคุณเคยอ่านบทความเรื่อง วิธีการติดตั้ง Google Tag Manager มาแล้ว

Google Tag Manager หรือ GTM สำหรับใครที่ได้อ่านบทความก่อนหน้านี้ ที่เราได้เขียนเกี่ยวกับวิธีการติดตั้ง Google Tag Manager ไปนั้น จากบทความนั้นเราจะเน้นเกี่ยวกับวิธีการติดตั้งและใช้งานในเบื้องต้น แต่ในบทความนี้เราจะมาแชร์วิธีการ Track หรือติดตามพฤติกรรมของผู้เข้าชมเว็บไซต์ในรูปแบบต่างๆที่คุณสามารถนำไปใช้กับเว็บไซต์ของคุณ เพื่อดูข้อมูลเชิงลึกที่เก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้เข้าชมเว็บไซต์ของเราได้นั่นเอง ทวนกันซักหน่อยก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่ใจความหลักของบทความนี้ จำได้หรือไม่ครับว่า 
Google Tag Manager คืออะไร? มีโครงสร้างลักษณะการทำงานเป็นอย่างไร? สามารถดูผลลัพธ์ของการ Track ได้ที่ไหน?
เพราะเป้าหมายของการใช้เครื่องมือนี้ก็เพื่อที่จะดูข้อมูลของผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์ ที่เราสามารถเป็นผู้กำหนดได้ด้วยการใช้เครื่องมือดังกล่าว หลังจากที่เราได้ข้อมูลมาแล้วเรายังสามารถนำนี้ไปวิเคราะห์ทั้งทางด้านการตลาด การพัฒนาโมเด็ลทางธุรกิจได้อีกด้วย  Google Tag Manager คือ เครื่องมือที่มีชุดคำสั่งใช้ติดตามพฤติกรรมของผู้เข้าชมเว็บไซต์หรือบนแอปพลิเคชั่นได้อย่างง่ายและมีประสิทธิภาพและที่สำคัญ คุณสามารถใช้งานได้ฟรี และไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดหรือมีความรู้ด้านโปรแกรมมิ่งมาก่อนก็สามารถทำได้ ซึ่งโครงสร้างการทำงานของ Google Tag Manager นั้นก็จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันนั่นก็คือ Tag, Trigger, Variable ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้จะทำหน้าที่ร่วมกัน เพื่อสร้างชุดคำสั่งขึ้นมาและติด tag คำสั่งนี้บนหน้าเว็บไซต์ของเรานั่นเอง บางเริ่มใช้งานแล้วอาจจะมีสงสัยกันว่า อ้าว ติด tag แล้วจะไปดูผลลัพธ์ได้ที่ไหน ต้องบอกแบบนี้ครับว่าตัว Tag นี้เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าสร้างชุดคำสั่งขึ้นมาเท่านั้น ดังนั้นการที่เราจะดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้น เราต้องเลือกที่จะเชื่อมต่อกับ Google Analytics เพื่อ Tag ที่เราติดตั้ง แสดงผลในแพลทฟอร์มนั้นอีกที

เริ่มกันที่ Trigger ตัวแรก นั่นก็คือ Page view 

Pageview นั้นคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร? คุณเคยอยากทราบจำนวนผู้ชมหน้าเว็บไซต์นั้นๆหรือไม่ เพราะใน GTM จะมี trigger ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นชุดคำสั่งที่คอยเก็บค่าและนับจำนวนผู้เข้าชมหน้าเว็บนั้นๆ ซึ่ง trigger ตัวนี้จะใช้ประกอบกับ Tag และ Variable โดยสามารถกำหนดเงื่อนไขการทำงานให้มีการทำงานในทุกๆหน้าของเว็บไซต์ (All Page Views) หรือ (Some Page Views) ในตรงนี้คุณก็สามารถสร้างเงื่อนไขใน Trigger อีกทีได้ว่าต้องเกิดเงื่อนไขนี้ก่อนแล้วจึงให้ trigger page views มีการทำงาน เช่น สร้าง Trigger Page Views ขึ้นมา เลือกไปที่ Some Page Views จากนั้น เลือก Variable เป็น Click Class (*ในการเลือกเงื่อนไข GTM จะมีทั้งตัว Default มาให้เราเลือกและถ้าต้องการสร้าง Variable เองก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน) จากนั้นเลือก contains และใส่ค่า ตามที่เราต้องการ จากนั้นเมื่อระบบตรวจสอบแล้วว่า การใช้งานของ user ตรงตามเงื่อนไขที่เรากำหนด Trigger และ Tag จึงจะเริ่มทำงาน และข้อมูลจะถูกส่งไปรายงานยัง Google Analytics  คำถามคือ ในเมื่อ Google Analytics มีการนับค่าและรายงานผล Page views ได้เหมือนกัน จำเป็นต้องใช้ GTM อยู่มั้ย? ตอบ เพราะว่าถ้าเราต้องการดูค่าเชิงลึก การจะใช้ GA อย่างเดียวไม่พอสำหรับการจะวัดค่าได้ จึงจำเป็นต้องใช้ GTM เข้ามาช่วยให้การวิเคราะห์หรืออ่านค่านั้น ละเอียด และชัดเจนมากยิ่งขึ้น

อยากรู้ว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์ คลิกตรงส่วนไหนของเว็บไซต์เราบ้าง ต้อง Trigger ตัวนี้เลย Click 

Click ตามชื่อก็บอกแล้วว่าเป็น trigger ประเภทการ คลิก นั่นเอง ซึ่ง trigger ประเภทนี้จะเป็นชุดคำสั่งที่ทำการนับค่าของผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์และทำการคลิกส่วนใดส่วนหนึ่งบนหน้าเว็บไซต์ของเรานั่นเอง แต่รูปแบบของการทำงานนั้นเราสามารถทำการกำหนดได้ เนื่องจากว่า trigger ตัวนี้จะแบ่งประเภทการคลิกออกเป็น 2 แบบด้วยกัน การคลิกในทุกๆ Element บนหน้าเว็บไซต์และการคลิกลิงก์ที่อยู่ในเว็บไซต์ของเรา เช่นเดียวกันกับ Page Views Trigger ที่คุณจำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขก่อน หรือถ้าไม่ต้องการจะกำหนดก็ให้เลือก Click all ตัว Tag ก็จะทำงานทุกครั้งเมื่อมีคนคลิกบนหน้าเว็บไซต์ของเรา ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการทราบว่ามีคนที่คลิกดูภาพบนเว็บไซต์หรือไม่ คุณจะต้องเลือกเงื่อนไขการทำงานเป็น Some Clicks  จากนั้นเลือก Variable เพื่อให้ Tag ทำงาน เลือกเป็น Class ของรูปนั้นๆที่เราต้องการติด Tag จากนั้นเลือก contains และใส่ค่าของ Class นั้นลงไปและกด Save 

มีคอนเทนต์วิดีโอบนเว็บไซต์ อยากรู้ว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์กดคลิกเล่นวิดีโอหรือไม่ ต้อง Trigger ประเภท User Engagement 

ใช่ครับ เครื่องมือตัวนี้มันสามารถทำได้จริงๆ Trigger ประเภท User Engagement นี้มันจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ Element Visibility, Form Submission, Scroll Depth, YouTube Video และตามหัวข้อนี้ก็จะพูดถึงเรื่องการ trigger ผู้ใช้ที่เข้ามาชมวิดีโอบนเว็บไซต์ของเรานั้น โดยใน trigger ประเภทนี้เราสามารถกำหนดได้ว่าจะให้มีการเริ่มเก็บค่าตอนไหน เช่น ตอนเริ่มกดเล่น ดูวิดีโอจบ กดหยุดหรือแม้กระทั่งตอนกำลังดูวิดีโออยู่ก็ตาม และเช่นเดียวกันกับ trigger อื่นๆที่ผ่านมาคือเราสามารถสร้างเงื่อนไข Variable ขึ้นมาอีกได้เช่นเเดียวกัน

สรุป 

จากทั้งหมดรูปแบบ Trigger แบบต่างๆ เราเชื่อว่าคุณสามารถนำไปลองใช้งานกับเว็บไซต์คุณได้และคุณสามารถนำข้อมูลการรายงานผลจากพฤติกรรมของผู้ใช้งานไปปรับใช้ในกลยุทธ์ทางการตลาดและทางธุรกิจเพื่อให้ตอบโจทย์ต่อวิสัยทัศน์ขององค์กรคุณและตอบโจทย์ต่อการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณอีกด้วย ติดตามบทความทางการตลาดที่คุณสามารถนำไปต่อยอดในธุรกิจของคุณได้ที่นี่ Yes Web Design Studio ————————————————————————————————————– และช่องทางอื่นๆที่คุณก็สามารถแวะไปทักทายกันได้ที่… Facebook : yeswebdesignstudio Instagram : yeswebdesign_bkk Twitter : yeswebdesignbkk 
มกราคม 11, 2022
วิธีติดตั้ง Google Tag Manager บนเว็บไซต์
เมื่อพูดถึงการขายออนไลน์หรือการทำการตลาดบนเว็บไซต์ของเราแล้ว เราเคยรู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมของคนที่เข้ามาในเว็บไซต์ของเรานั้นมีพฤติกรรมอย่างไรบ้าง เช่น เว็บไซต์ขายสินค้าเว็บไซต์หนึ่ง ลูกค้าเข้ามายังเว็บไซต์ มีการดูสินค้าหรือกดหยิบใส่ตะกร้าแต่ไม่เข้าสู่กระบวนการชำระเงินมีกี่คน หรือมีคนกดเข้าดูวิดีโอบนเว็บไซต์กี่ครั้ง แม้กระทั่งในส่วนใดส่วนหนึ่งของเว็บไซต์มีการกดกี่ครั้ง ทั้งหมดนี้เราจะทราบได้จากการเครื่องมือทางการตลาดเครื่องมือหนึ่ง ที่ Ecommerce Website และ Company Website ส่วนใหญ่นิยมใช้กัน นั่นก็คือ Google Tag Manager ซึ่งเครื่องมือนี้ถูกสร้างขึ้นมาโดย Google เพื่อทำการติดตามพฤติกรรมของผู้เข้าชมเว็บไซต์ให้เป็นไปตาม KPI เห็นชื่อของเครื่องมือแล้ว ผมคิดว่าหลายคนคงคิดว่าต้องติดตั้งยากแน่ๆเลย เราไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ และไม่มีความรู้เรื่องโค้ดเลย สามารถทำได้ด้วยตัวเองจริงๆเหรอ??  คุณจะได้อะไรจากบทความนี้บ้าง 
  • วิธีการสร้างและติดตั้ง Google Tag Manager
  • วิธีการใช้งานเบื้องต้น
  • ประโยชน์ของ Google Tag Manager

วิธีการสร้างและติดตั้ง Google Tag Manager

วันนี้เราจะมาอธิบายและสรุปวิธีการติดตั้ง Google Tag Manager ให้กับผู้ที่ต้องการติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เข้ามายังเว็บไซต์ เอาล่ะครับ พร้อมนะครับ? อย่างแรกเลยก่อนการติดตั้งเราต้องไปสมัครเพื่อสร้าง account ก่อน ฉะนั้นให้คุณไปที่เว็บไซต์ Google Tag Manager Official Website    หน้าแรก 95 ดูตัวอย่างในหน้านี้ก็จะไม่ได้แตกต่างอะไรมากจาก วิธีติดตั้ง Googe Analytics  คลิกไปที่ Start for free เพื่อสร้างบัญชี แต่ถ้าคุณมีบัญชีของ Google Tag Manager อยู่แล้วคุณไม่จำเป็นต้องสร้างบัญชีใหม่อีกครั้ง แต่ถ้าใครที่พึ่งเริ่มให้คุณ log in เข้าไปจากนั้นกด Create a new Google Tag Manager Account และ Container หน้าแรก 96 Google Tag Manager จะมีลักษณะการทำงานที่คล้ายๆกันกับ Google Analytics ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้สำหรับเว็บไซต์บริษัท องค์กร และ Ecommerce ซึ่งใน Container สามารถมีได้หลาย tag, หลาย trigger หรือ หลาย variable. เมื่อสร้างบัญชี Google Tag Manager แล้ว จะเอา code ได้จากตรงไหน?? Google Tag Manager จะให้ code เพื่อให้คุณสามารถนำไปติดตั้งบนเว็บไซต์ของคุณได้ 1.แบบแรกคือ ให้คลิกที่ลิงก์ Container ID ที่อยู่บริเวณมุมขวาบนติดกับปุ่ม Publish และปุ่ม Preview 2.แบบที่สองคือ ให้คลิกไปที่แถบเมนู Admin และ เลือก container จากนั้นคลิก Install Google Tag Manager  หลังจากที่คุณได้ทำตามแบบใดแบบหนึ่งแล้ว Google Tag Manager จะแสดง code ขึ้นมาเพื่อให้คุณสามารถนำไปเพิ่มในเว็บไซต์ของคุณได้ หน้าแรก 97 จากนั้นให้เพิ่ม code ดังกล่าวในส่วนหลังบ้านเว็บไซต์(Backend) ที่เป็นส่วน ….*ใส่ไว้ตรงนี้… ตามตัวอย่างในรูปข้างล่างนี้

จากนั้นไปดูกันว่า Tag ที่เราติดตั้งไปใช้งานได้หรือไม่?

เมื่อคุณได้ทำการติดตั้ง Google Tag Manager ไปแล้วเรียบร้อย คุณจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนว่า มันจะใช้งานได้จริงๆมั้ย ซึ่งวิธีการตรวจสอบการติดตั้งนั่นก็ง่ายมากๆ เพียงแค่ไปยังหน้าเว็บไซต์ของคุณที่ได้มีการติดตั้งไปแล้วนั้น คลิกขวาบน Background ของเว็บไซต์ จากนั้นเลือก View page source และหาโค้ดที่ติดตั้งไป โดยสังเกตุที่ gtm.js หน้าแรก 98

วิธีการใช้งานเบื้องต้น

ก่อนจะเริ่มใช้งาน ผมจะพาไปดูวิธีการทำงานของแต่ละส่วนว่ามีขั้นตอน กระบวนการทำงานอย่างไรบ้าง โครงสร้างหลักในการทำงานของ Google Tag Manager จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนด้วยกัน นั่นก็คือ
  1. Tag  
  2. Trigger 
  3. Variable
สำหรับส่วนที่ 1 Tag
  1. Tags หรือชุด code ชุดหนึ่งที่เป็นตัว track การกระทำบางอย่างบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่น ใช้ในการวิเคราะห์ ทำการตลาด และสนับสนุนให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกับเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่น เมื่อคุณกด Create new tag มันจะให้คุณเลือกประเภทของ tag ที่ต้องการจะเชื่อมต่อ เช่น เราต้องการให้ข้อมูลการ track ของเราไปปรากฏใน 3rd Party อื่นอย่าง Google Analytics ก็ให้เราเลือก  
  2. Trigger คือตัวจับจากชุดคำสั่ง ที่เมื่อ tag เริ่มทำงาน ตามเงื่อนไขการกระทำของ Trigger เช่น เราตั้ง Trigger ให้ตรวจจับการกระทำของผู้เข้าชมเว็บไซต์ ด้วยประเภท trigger แบบ Pageviews หมายความว่าถ้า Visitors มีการเข้าชมเว็บไซต์ Tag เริ่มทำงาน > ระบบจะเช็คตามเงื่อนไขของ Trigger คือ Pageviews > และดำเนินการนับค่าดังกล่าวจากพฤติกรรมที่ตรงกับเงื่อนไข หากพฤติกรรมของ Visitors ไม่ตรงกับเงื่อนไขก็จะไม่มีการนับค่าและเรียกได้ว่า Tag นั้นไม่สมบูรณ์
                 ซึ่ง Trigger ของ Google Tag Manager นั้นก็จะมีอยู่หลายแบบด้วยกัน แต่ละแบบก็มีการใช้งานที่   ต่างกันออกไป 
  • Page view trigger 
         ใช้เป็นเงื่อนไขการทำงานเมื่อมีการดูหน้าเว็บไซต์เกิดชึ้น
  • Click trigger
         ใช้เป็นเงื่อนไขการทำงานเมื่อมีการคลิกเกิดขึ้น
  • Element visibility trigger
         ใช้เป็นเงื่อนไขการทำงานเมื่อมีองค์ประกอบใดปงค์ประกอบหนึ่งปรากฏ
  • Form submission trigger
         ใช้เป็นเงื่อนไขการทำงานเมื่อมีการกด submit แบบฟอร์ม
  • History change trigger
         ใช้เป็นเงื่อนไขการทำงานเมื่อมีประวัติการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
  • JavaScript error trigger
         ใช้เป็นเงื่อนไขการทำงานเมื่อมีข้อผิดพลาดของคำสั่ง code JavaScript
  • Scroll Depth trigger
         ใช้เป็นเงื่อนไขการทำงานเมื่อมีการเลื่อนหน้าเว็บไซต์ลงไปส่วนล่าง
  • Timer trigger
          ใช้เป็นเงื่อนไขการทำงานในการจับเวลา
  • YouTube video trigger
         ใช้เป็นเงื่อนไขการทำงานเมื่อมีการกดเล่นวิดีโอ
  • Custom event trigger
         ใช้เป็นเงื่อนไขเมื่อการกระทำของผู้เข้าชมเว็บไซต์ตรงกับชุดคำสั่ง
  • Trigger group
        ใช้เป็นเงื่อนไขการทำงานที่ตรงตามกลุ่มเงื่อนไขที่เลือกไว้       3. Variable คือตัวแปรที่สามารถกำหนดขึ้นมาเพื่อทำงานร่วมกับ Trigger เช่นถ้าหากเรากำหนดเงื่อนไขขึ้นมาแล้วต้องการให้ค่าตัวแปรเป็นประเภทไหนก็ให้ระบุตามที่ต้องการ จากนั้นเมื่อ Tag เริ่มทำงานและตรวจสอบว่า Trigger และ Variable ตรงตามที่ตั้งไว้ถึงจะมีการนับ หากการกำหนดตัวแปรของเรามีค่าตัวแปรที่ไม่ตรงกับการกระทำก็จะไม่มีการนับค่าใดๆ เมื่อทำการกำหนด Tag Triggering และ Variable เรียบร้อยแล้วจากนั้นให้เรากดที่ ปุ่ม Preview เพื่อดูในโหมดทดสอบการทำงาน จากนั้นให้ไปยังหน้าเว็บไซต์ของเราแล้วกด Ctrl+Shift+R เพื่อรีเฟรชและเคลียร์แคชอีกครั้ง หน้าจอจะปรากฏเป็นโหมด Debug เพื่อให้เราตรวจสอบการทำงานของ Tag ที่ได้มีการติดตั้งไว้ ต่อจากนั้นให้คุณลองตรวจสอบด้วยการกระทำบางอย่างตามที่ตั้ง trigger ไว้ ถ้า Tag หรือ Trigger ใช้งานได้ระบบจะประกฏชื่อ Tag ในส่วนของ Tags Fired On This Page หาก Tag ของเราไม่ทำงานหรือไม่ตรงตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ชื่อ Tag จะปรากฏอยู่ที่ส่วนของ Tags Not Fired On This Page เมื่อสิ้นสุดการทดสอบการใช้งานแล้ว ให้กลับมายัง Google Tag Manager อีกครั้งและกดปิดโหมด Preview หรือ Debug จากนั้นกด Submit และกด Publish เพื่อเป็นการยืนยันการใช้งาน Tag ดังกล่าว หน้าแรก 99

หน้าแรก 100

ประโยชน์ของ Google Tag Manager

  1. ใช้งานได้ง่าย แม้ไม่มีความรู้เรื่อง code ก็ตาม
  2. ช่วยให้ธุรกิจของคุณพัฒนาได้อย่างรวดเร็วและมีทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้น
  3. สามารถวัดผลการทำการตลาดและต่อยอดกลยุทธ์ทางการตลาดได้ดี
  4. ควบคุมและจัดการง่ายในที่เดียว
  5. สามารถใช้ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
สรุป และนี่ก็คือวิธีการติดตั้ง Google Tag Manager ที่คุณสามารถติดตั้งได้ด้วยตนเอง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้กับเว็บไซต์ครับ ติดตามบทความทางการตลาดที่คุณสามารถนำไปต่อยอดในธุรกิจของคุณได้ที่นี่ Yes Web Design Studio ————————————————————————————————————– และช่องทางอื่นๆที่คุณก็สามารถแวะไปทักทายกันได้ที่… Facebook : yeswebdesignstudio Instagram : yeswebdesign_bkk Twitter : yeswebdesignbkk 
มกราคม 11, 2022
Facebook เปิดตัวฟีเจอร์ Messenger Rooms 
Facebook
Facebook News

Facebook เปิดตัว Messenger Rooms ฟีเจอร์ใหม่ ที่ให้คุณสามารถติดต่อและประชุมพูดคุยกันอย่างง่ายดาย

เมื่อพูดถึง Facebook แล้ว ซึ่ง Facebook ก็เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันอยู่ทุกวันและใช้งานมันอยู่เกือบจะทุกเวลา เราเชื่อว่าหลายคนคงมีการใช้งานวิดีโอคอลกับเพื่อนๆใน Facebook แต่ล่าสุดจากข่าวของ Facebook ที่มีจะมีการเปิดตัวฟีเจอร์ตัวใหม่ จะเป็นอย่างไรกันบ้าง มีข้อดีอะไรอย่างไรบ้าง ไปทำความรู้จักพร้อมๆกันได้เลย ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นยุคที่ AR และ VR เป็นเทรนด์ใหม่ที่น่าจับตามองและตกเทรนด์ไม่ได้และต่อมา Facebook เริ่มสนใจในเรื่องของวิดีโอแบบเรียลไทม์ อย่างเช่นการใช้งาน WhatsApp และ Messenger ซึ่งทั้งสองอย่างมีจำนวนผู้ใช้งานมากถึง 700 ล้านบัญชีผู้ใช้งานที่ติดต่อสือสารกันทุกวัน ในหลายๆประเทศมีผู้ใช้งานด้วยการวิดีโอคอลผ่านทาง Messenger และ WhatsApp มากกว่าเดิมเป็นจำนวนสองเท่า และการทำไลฟ์ผ่านทาง Facebook และ IG ของมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆตลอดในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำให้ Facebook ได้เพิ่มฟีเจอร์นี้เข้ามาเพื่อให้การติดต่อสื่อสารผ่านทางวิดีโอคอลมีความลื่นไหลและดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น

มาดูกันว่า Messenger Rooms สามารถทำงานอย่างไรได้บ้าง

เอาจริงๆแล้ว Messenger Rooms มีฟังก์ชั่นการใช้งานเหมือนวิดีโอคอลทั่วไป แต่ความพิเศษของ Messenger Rooms คือการที่เราไม่จำเป็นต้องมีหรือสมัครบัญชี Facebook ถึงจะเข้าใช้งานได้ นั่นหมายความว่าใครๆก็สามารถใช้งานง่าย ซึ่ง Messenger Rooms จะทำให้เราสามารถใช้เวลาร่วมกับเพื่อน, คนที่เรารัก หรือแม้กระทั่งคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ที่สามารถสร้างห้องแชทได้ผ่านทาง Messenger หรือ Facebook และเรายังสามารถเชิญใครก็ได้เข้ามาร่วมวิดีโอคอลไปด้วยกันถึงแม้ว่าเขาจะไม่มีบัญชีผู้ใช้ Facebook ก็ตาม ดูน่าสนใจมากขึ้นมั้ยครับ ไม่ต้องสมัครหรือมีบัญชีผู้ใช้ก็สามารถใช้งานได้แล้ว และสามารถเข้าร่วมได้แบบไม่มีจำกัด ช่วงโควิด19 หลายมหาลัยมีการเปลี่ยนแปลงไปเรียนออนไลน์ หลายบริษัทมีการประชุมออนไลน์ และนี่อาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการติดต่อสื่อสารผ่านทางวิดีโอคอลก็เป็นได้ ไม่ว่าจะคุณกำลังจัดปาร์ตี้งานเลี้ยง ประชุม ดื่มสังสรรค์กับกลุ่มเพื่อนที่อยู่ห่างไกลกัน คุณก็สามารถแชร์วิดีโอคอลดังกล่าวไปยังหน้าฟีด ในกลุ่ม หรือกิจกรรมได้เช่นเดียวกัน เป็นอะไรที่ง่ายและน่าลองมาก และอีกไม่นานฟีเจอร์นี้ก็จะมีให้ใช้บน Instagram Direct, WhatsApp และช่องทางอื่นๆที่ Facebook เป็นเจ้าของ   ถ้าเพื่อนของคุณหลายๆคนหรือชุมชนกลุ่มสังคมของคุณสร้างห้องสนทนานี้กับคุณ คุณจะเจอพวกเขาใน Facebook และสามารถร่วมกิจกรรมกันได้หลายๆอย่างพร้อมกันผ่านทางวิดีโอคอล Messenger Rooms นี้  และเมื่อเวลาที่คุณเชิญเข้าร่วมในนี้ คุณสามารถเข้าร่วมได้ทั้งจากสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ก็ได้เช่นเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นอะไรเพื่อใช้งานฟีเจอร์ดังกล่าว และถ้าคุณมีแอปฯ Messenger คุณสามารถใช้เอฟเฟค อย่างเช่น เอฟเฟคหูกระต่ายและฟีเจอร์อื่นๆในแอปฯนี้ เวลาที่คุณสร้างห้องสนทนาขึ้นมา คุณสามารถเลือกได้ว่าใครจะเห็นมันและสามารถเข้าร่วมในห้องสนทนานี้ได้บ้าง. เช่นเดียวกัน หากเป็นการสนทนาที่ลับเฉพาะ คุณก็สามารถล็อคห้องสทนานั้นได้เพื่อไม่ให้คนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าร่วมได้ ตอนนี้ตัว Messenger Rooms ได้มีการใช้งานแล้วในบางประเทศ และประเทศไทยก็พึ่งจะเปิดตัวไปไม่นานมานี้
Facebook
ภาพจาก Facebook News

การเพิ่มฟีเจอร์สนทนาแบบกลุ่มบน WhatsApp

ฟีเจอร์การสนทนาบน WhatsApp เป็นอีกช่องทางที่ให้คุณได้เข้าถึง และเร็วๆนี้คุณจะสามารถสื่อสารกันได้ในกลุ่มสนทนาและกลุ่มวิดีโอคอลกับคนอื่นใน WhatsApp สูงถึง 8 คน อย่างที่ก่อนหน้าที่ได้กล่าวไปแล้วว่า การสนทนาในลักษณะนี้มีความปลอดภัยและจะไม่มีใครสามารถเข้าชมหรือฟังในขณะที่คุณกำลังอยู่ในการสนทนาแบบส่วนตัว 

ฟีเจอร์ใหม่ที่ให้เราสามารถถ่ายทอดสดวิดีโอได้บน Facebook, Instagram และอื่นๆ

ส่วนใหญ่แล้วเราจะคุ้นหูคุ้นตากันในชีวิตประจำวันอยู่แล้วกับ Facebook Live หรือ Instagram Live สำหรับคลาสสอนออกกำลังกาย สอนทำอาหาร และอื่นๆ ฉะนั้นเราจึงได้เพิ่มฟีเจอร์นี้เข้าไปเพื่อทำให้มันมีประโยชน์และใช้งานได้ดีขึ้น
WhatsApp Group Call with 8 people on mobile
ภาพจาก Facebook News
ตัวอย่างเช่น Facebook 
  • กลับมาที่ตัวถ่ายทอดสดอีกครั้งแต่มันจะมีอะไรที่พิเศษไปมากกว่านั้นคือใน live คุณสามารถเพิ่มคนอื่นๆเข้าไปยัง live ได้ไม่ว่าเขาคนนั้นจะอยู่ที่ไหนก็ตาม และคุณก็สามารถเชิญแขกรับเชิญพิเศษมาเพื่อสัมภาษณ์และทำการถ่ายทอดสดผ่านช่องทางนี้ได้ ซึ่งเหมาะมากกับช่วงที่ต้อง WFH หรือในสถานการณ์ที่ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถมาพบกันได้
  • คุณสามารถสร้างเป็นกิจกรรมขึ้นมาเพื่อให้คนที่สนใจเข้าร่วมและชมถ่ายทอดสดในวันเวลาที่แจ้งตามกิจกรรมที่คุณได้สร้างขึ้น หลังจากนั้น Facebook จะทำการเชื่อมต่อกับ live และระบบจะทำการ live ตามเวลาที่กำหนดไว้และเราก็สามารถออกอากาศไปยังคนที่สนใจจะเข้าร่วมในกิจกรรมนี้ตามที่คุณได้สร้างไว้
  • ฟีเจอร์ใหม่ๆที่เหมาะกับองค์กรการกุศล ซึ่งจะมีตัวช่วยในเปิดรับการบริจาคจากผู้ใจบุญทั้งหลาย แต่ในประเทศของเรายังเห็นไม่ค่อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นที่ต่างประเทศ เราก็อาจจะต้องรอไปก่อนซักพัก
  • Facebook ยังให้คุณได้เข้าถึง live video ได้ ไม่ว่าคุณจะอยู่ไหนก็ตาม ถ้าวันหนึ่งอินเตอร์เน็ตมือถือดันความเร็วลดลง คุณก็สามารถเลือกฟังได้เฉพาะเสียงเช่นเดียวกัน และถ้าคุณไม่มีบัญชี Facebook ก็ไม่ต้องกังวลวส่าจะไม่สามารถเข้าชมการถ่ายทอดสดวิดีโอไม่ได้ เพราะ Facebook เพราะวิดีโอถ่ายทอดสดส่วนใหญ่แล้วจะเปิดเป็นสาธารณะซึ่งคุณก็สามารถเข้าถึงได้ถึงแม้ว่าคุณจะไม่มีบัญชี Facebook เลยก็ตาม
  • และตอนนี้สายเกมเมอร์ทั้งหลายก็ใช้ Facebook ในการไลฟ์สตรีมเกมส์ผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะมีแอปฯที่ชื่อว่า Facebook Gaming ที่คอเกมส์หรือคนที่อยากจะสร้างชาแนลเกมส์ของตัวเองก็สามารถใช้แอปฯตัวนี้ได้เหมือนกัน ไม่ต้องไปโหลดซอฟแวร์อื่นๆให้ยุ่งยาก และที่พิเศษไปกว่านั้นคือการสร้างกลุ่มการประลองขึ้นหรือที่เรียกว่า Tournaments ที่เป็นฟีเจอร์ใหม่ ให้คุณสามารถสร้างการแข่งขันและมีการประลองกับคู่แข่ง พร้อมกับ livestreaming ไปด้วยเช่นกัน
  • เราจะเห็นว่าเวลาที่เราเข้าไปดูสตรีมพวกนี้ก็จะมีฟังก์ชั่นพิเศษอีกอันเพิ่มขึ้นมา นั่นก็คือการให้ดาวกับผู้สตรีม ซึ่งดาวที่ว่านี้คุณจำเป็นต้องเสียตังค์เพื่อซื้อ เป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆที่เราอาจจะต้องลงทุนเสียเงินเพื่อซื้อดาวและมอบให้กับ Streamer ที่เราชื่นชอบหรือประทับใจ
Paid Facebook Events
ภาพจาก Facebook News
บน Instagram…
  • คุณสามารถชมและคอมเมนต์บนไลฟ์วิดีโอจากหน้าจอที่ใหญ่ขึ้นของคุณ เช่น จอของ Labtop อย่างเช่นการเรียนโยคะ เพราะคุณลองนึกภาพดูว่าหากต้องดูหน้าจอมือถือขนาดเล็กและปฎิบัติตามผู้สอนมันคงจะลำบากอยู่บ้าง แตถ้าคุณดูบนหน้าจอขนาดของ Labtop จะทำให้คุณเห็นท่าและรายละเอียดได้ชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าบนโทรศัพท์มือถือ
  • หลังที่คุณไลฟ์วิดีโอ คุณก็จะสามารถเซฟวิดีโอเหล่านั้นไว้ที่ IGTV ได้เช่นเดียวกัน และวิดีโอเหล่านั้นก็จะถูกเก็บไว้ประมาณ 24 ชั่วโมงในสตอรี่ไอจีและเจอได้ง่าย
Instagram
ภาพจาก Facebook News

Messenger Kids Global Expansion and New Features

กลุ่มการสนทนาสำหรับเด็กๆและครอบครัว ฟีเจอร์ใหม่บน Facebookที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรพลาด
Messenger Kids group chat screenshot
ภาพจาก Facebook News
ในช่วงวันหยุดยาวหรือวันปิดภาคเรียนเด็กๆก็ไม่ค่อยได้เจอหน้ากันบ่อย Messenger Kids จึงได้มีการช่วยเชื่อมโลกของเด็กๆเข้าหากัน ซึ่งฟีเจอร์นี้ก็ยังสามารถเชื่อมต่อให้เด็กๆได้พูดคุยกับครอบครัวได้อย่างสนุกสนาน ลดความเหงาไปได้เยอะเลย เป็นไอเดียที่ดีแก้เหงาช่วงปิดเทอมหรือหยุดยาว

นัดเดทบน Facebook

ฟีเจอร์ที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ ในเวลาที่คู่รักไม่สามารถไปเดทของนอกได้หรือไม่สามารถพบกันได้ตามพื้นที่ข้างนอก อาจจะเริ่มต้นการเดทบนวิดีโอนี้ได้เช่นเดียวกัน เหมาะมากๆกับช่วงนี้ที่เราไม่สามารถไปเดทตามร้านอาหารได้เพราะมาตรการรักษาระยะห่างจากสถาการณ์โควิด19 แต่ไม่เป็นไรฟีเจอร์ตัวนี้ช่วยคุณได้  โดยสรุปแล้วเราจะเห็นได้ถึงการพัฒนาของ Facebook ที่ได้ออกฟีเจอร์ใหม่ๆเพื่อให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานและที่สำคัญ เราสามารถสื่อสารกันได้ง่ายและสะดวกมากขึ้นกว่าในอดีต เมื่อได้อ่านบทความแล้วลองนำไปปรับใช้ตามต้องการได้เลยนะครับเพราะฟีเจอร์บางตัวก็ได้เปิดให้ใช้งานมาซักพักแล้ว เราเชื่อว่าบทความนี้สามารถช่วยให้คุณได้สื่อสารและเข้าถึงกันได้อย่างสะดวกสบายอย่างแน่นอน

บทความโดย – Yes Web Design Studio

บริการออกแบบเว็บไซต์ในกรุงเทพฯ – นักออกแบบเว็บไซต์ในประเทศไทย – ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเว็บไซต์ ต้องที่นี่เท่านั้น Yes Web Design Studio

ติดตามเราเพิ่มเติมได้ที่

Facebook : yeswebdesignstudio Instagram : yeswebdesign_bkk Twitter : yeswebdesignbkk 
พฤษภาคม 5, 2020
PDPA คืออะไร
ทำ PDPA

อะไรคือ PDPA?

เมื่อโลกออนไลน์มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การที่ผู้คนเข้าถึงข้อมูลและสื่อต่างๆก็สะดวกสบายมากขึ้น เราจะเห็นได้ว่าสมัยก่อนที่การใช้งานออนไลน์หรือแพลทฟอร์มต่างๆบนอินเตอร์เน็ตยังไม่มากเท่าปัจจุบันนี้ ในหลายๆบริษัทหรือหลายๆองค์กร ยังไม่มีวิธีการทำการตลาดโดยการนำข้อมูลข้อง User มาใช้เท่าปัจจุบันนี้ เราจะเห็นได้จากกรณีที่ว่า ทำไมหลังจากที่เราเข้าไปที่เว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งก็มักจะมีโฆษณาตามหลอกหลอน ทั้งๆที่เราก็ไม่ได้กดคลิกอะไรในเว็บนั้นเลย นั่นก็เป็นเพราะว่าเว็บไซต์นั้นๆได้มีการเก็บข้อมูลบางอย่างของเราให้ระบบการทำงานของโฆษณาติดตามผู้เข้าชมเว็บไซต์และให้ปรากฏโฆษณานั้นขึ้นเมื่อคุณไปยังแพลทฟอร์มที่มีการทำโฆษณา หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Pixel เจ้า Pixel เป็นระบบติดตามของ Facebook ที่ใช้ติดตามพฤติกรรมของผู้เข้าชมเว็บไซต์

แล้วจากกรณีดังกล่าว มีความเกี่ยวข้องกับ PDPA อย่างไร?

ความเป็นมาของ PDPA หรือ Personal Data Protection Act ต้องเท้าความย้อนกลับไปเมื่อ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ณ ตอนนั้นเทคโนโลยีได้เริ่มเข้ามามีบทบาทและถูกนำมาใช้งานในแบบของข้อมูลเทคโนโลยี หรือ Information Technology มากขึ้น ซึ่งจากที่ได้กล่าวไปข้างต้นก็จะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทกับผู้คนมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกคนไม่สามารถปฏิเสธได้เพราะบางทีมนุษย์อาจจะเป็นฝ่ายที่ต้องปรับตัวตามเทคโนโลยีด้วยซ้ำ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่เป็นตัวเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ หรือแม้กระทั่งข้อมูลทางการเงิน จึงทำให้มีคนพูดถึงเรื่องสิทธิในการคุ้มครองข้อมูลเหล่านั้นขึ้นมาเพื่อไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกขโมยไปใช้อย่างไม่ถูกต้องและไม่ได้รับการยินยอมจากตัวเจ้าของข้อมูลจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้มีการจัดทำ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ขึ้นเมื่อปี 2562 ที่ผ่าน หรือที่เรามักจะเรียกสั้นๆว่า PDPA นั่นเอง 

ทำไมเราถึงต้องทำ PDPA ?

หลายๆคนคงเกิดคำถามว่า พรบ คอมพิวเตอร์ ยังไม่เพียงพอต่อการปรับใช้อีกเหรอ ทำไมยังต้องมี PDPA ขึ้นมาอีก ต้องทวนกันอีกทีว่า พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 เป็นเหมือนกฏหมายฉบับที่ช่วยเติมเต็ม พรบ. คอมพิวเตอร์ ให้ครอบคลุมมากขึ้น ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆคือ PDPA จะเป็นเหมือนการสร้างขึ้นมาเพื่อเน้นคุ้มครองประชาชน ส่วน พรบ.คอมพิวเตอร์นั้น เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐสามารถควบคุมประชาชนอีกทีหนึ่ง ทั้งนี้ในส่วนของประชาชนก็สามารถมั่นใจได้ถึงข้อมูลของตนเองมากขึ้นว่าจะไม่มีการรั่วไหล หรือหากมีการรั่วไหลบทลงโทษและค่าปรับก็ค่อนข้างโหดอยู่เหมือนกัน (*บทลงโทษในหัวข้อถัดไป) และจากหัวข้อนี้ที่ว่า ทำไมเราถึงต้องทำ PDPA ก็คงพอเห็นภาพกันไปแล้วบ้าง ในการทำ PDPA นั้นถ้าเรามองในมุมขององค์กรหรือบริษัทที่ให้บริการแน่นอนว่าในทุกๆบริษัทหรือองค์กรต้องมีการเก็บข้อมูลของลูกค้า ไม่ว่าจะผ่านแบบฟอร์มการกรอกข้อมูล หรือมีเรื่องของการชำระเงินเกิดขึ้น แน่นอนว่าข้อมูลเหล่านี้ล้วนเป็นข้อมูลที่บางบริษัทอาจจะนำไปใช้เพื่อทำการตลาดและส่งเสริมการให้บริการให้ดีขึ้น เมื่อหลายปีที่ผ่านมาหรือก่อนที่จะเกิด พรบ.ฉบับนี้ขึ้น หลายๆบริษัทก็ยังไม่ได้มีการทำ PDPA ให้เกิดขึ้น เราจะขอยกตัวอย่างให้เห็นว่า ถ้าบริษัทหรือองค์กรไหนที่มีการดำเนินการเก็บข้อมูลตามที่กล่าวมาในข้างต้น ไม่ได้ทำ PDPA ก็จะมีบทลงโทษที่ค่อนข้างหนักพอสมควร ทั้งจำและปรับ เราจะเห็นได้จากกรณีของ บริษัท Facebook ที่ต้องจ่ายค่าปรับรวม 1.5 แสนล้านบาท ให้กับคณะกรรมาธิการ การค้าสหรัฐ (Federal Trade Commission) จากการที่ได้นำข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้งานไปใช้ในทางที่ผิด มูลค่าการปรับครั้งนี้ถือเป็นค่าปรับที่แพงสุดในโลกสำหรับบริษัทเทคโนโลยี แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ Facebook สะทบสะท้านแต่อย่างใด เพราะมูลค่า GDP ของ Facebook นั้นใหญ่กว่าประเทศไทยทั้งประเทศเสียอีก แล้วถ้าบริษัทเราไม่ใช่บริษัทที่มีรายได้เยอะขนาดนั้นหรือคุณจะยอมเสี่ยงต่อการจ่ายค่าปรับสูงๆ ซึ่งนั่นมันก็ไม่คุ้ม เพราะหากเราไม่มีการป้องกันหรือลดความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้องและนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เข้าชม ก็อาจข่าวขึ้นหน้าฟีดว่า จากฟ้าสู่ดิน พบบริษัทที่เคยมีกำไรในการขายสินค้ามาในตลาดออนไลน์ได้ขายข้อมูลและส่งข้อความน่ารำคาญให้กับผู้ใช้ ต้องเสียค่าปรับหลายล้าน หลังจากที่มีการปรับใช้ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างจริงจัง  ในทางกลับกัน ถ้าเรามองในมุมของผู้ใช้งานหรือผู้เข้าชมเว็บไซต์อย่างเราๆอาจจะทำให้เรารู้สึกปลอดภัยมากขึ้นในการยินยอมที่จะให้ข้อมูลไป *ในส่วนนี้ถ้าเราอยู่ในฐานะผู้เข้าชมเว็บไซต์ ควรตะหนักด้วยเช่นกันว่าทางเว็บไซต์จะมีการเก็บข้อมูลของเราไปในรูปแบบไหนบ้าง ซึ่งเราก็สามารถอ่านเงื่อนไขต่างๆใน term ของ Cookie Popup เวลาที่เราเข้าชมแล้วเว็บไซต์ให้เรายินยอม ฉะนั้นแล้วถ้าเว็บไซต์ไม่มีความน่าเชื่อถือการให้ข้อมูลไปอาจจะไม่เป็นการปลอดภัยต่อเรานัก ทางที่ดีควรมีการพิจารณาดูเงื่อนไขของการเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ก่อน หากเรารับได้ในเงื่อนไขวิธีการเก็บข้อมูลในเว็บไซต์ดังกล่าว เราจำเป็นจะต้องกดยอมรับ หรือ accept เพื่อเป็นการยินยอมให้บริษัทหรือองค์กรนั้นๆ มีการเก็บข้อมูลจากเราไป
ทำไมเราถึงต้องทำ PDPA ? ตอบ เพื่อความสบายใจของผู้ใช้และความโปร่งใสของการทำงานขององค์กรหรือบริษัท

แล้ว PDPA กับ GDPR เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ความเป็นจริงแล้ว พรบ.ในลักษณะนี้มีขึ้นมานานแล้วในต่างประเทศ แต่ละประเทศมีบทลงโทษแตกต่างกันไป ซึ่งเอาเข้าจริงๆแล้วกฏหมายมีความเหมือนกันมาก แต่แตกต่างกันที่มีผลบังคับใช้กับใครบ้าง วันนี้เราจึงเปรียบเทียบให้เห็นถึงคำนิยาทความแตกต่างของ PDPA และ GDPR ให้คุณได้เห็นภาพได้ชัดขึ้น

คำนิยาม GDPR

“ข้อมูลใดๆที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้ โดยทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะการอ้างอิงถึงสิ่งที่สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้ เช่นคุณสมบัติทางกายภาพ สรีรวิทยาสามารถระบุตัวบุคคล”

คำนิยาม PDPA

“ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงการระบุเฉพาะชื่อ ตำแหน่ง สถานที่ทำงาน หรือที่อยู่ทางธุรกิจ และข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรม”

แล้วอะไรบ้างที่สามารถระบุตัวตนได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม

  • IP Adress
  • ข้อมูลพฤติกรรม
  • โลเคชั่นเช็คอิน
  • ข้อมูลสุขภาพ
  • ลายนิ้วมือ
  • รสนิยมทางเพศ
  • Cookie ID
  • อื่นๆ

Checklist ว่าเว็บไซต์คุณเข้าข่ายถูกบังคับใช้หรือไม่

  • เว็บไซต์หรือองค์กรของคุณมีการเก็บและใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ในพรบ.นี้เรียกว่า Data Controller หรือ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล  ตัวอย่าง เช่น เว็บไซต์ Ecommerce รายหนึ่ง มีเก็บข้อมูลของผู้ใช้
  • เว็บไซต์หรือองค์กรคุณเป็นหน่วยงานที่ผู้ควบคุมข้อมูลจ้างให้ประมวลผลข้อมูลของลูกค้า ตามคำสั่งของผู้ควบคุมข้อมูล ในพรบ.จะเรียกว่า Data Processor หรือ ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
  • เว็บไซต์คุณมีข้อมูลอยู่ต่างประเทศหรือไม่ หมายถึงเว็บไซต์หรือบริษัทคุณตั้งอยู่ต่างประเทศและมีการถ่ายโอนข้อมูล เข้า-ออกในประเทศไทยก็นับว่าเข้าข่ายเช่นเดียวกัน

หากละเมิดมีบทลงโทษอะไรบ้าง

  • โทษทางอาญาจำคุกสูงสุด 1 ปี ปรับสูงสุด 1 ล้านบาท
  • โทษทางแพ่ง จ่ายสินไหมไม่เกิน 2 เท่าของสินไหมที่แท้จริง
  • โทษทางปกครองปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท
สรุปแล้วในมุมมองของผู้เขียนเห็นว่าการทำ PDPA นั้นมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากที่องค์กรหรือผู้ให้บริการเว็บไซต์จะต้องทำ เพราะเสมือนเป็นการสร้างความไว้วางใจและความปลอดภัยให้กับตัวผู้ใช้เองและสร้างความโปร่งใสในการทำให้บริการของเว็บไซต์ และหากละเมิดก็มีบทลงโทษที่ค่อนข้างหนักอยู่เหมือนกัน เราคงไม่ยอมเสี่ยงที่จะเสียเครดิตหรือภาพลักษณ์ของธุรกิจไปกับการทำงานหรือการให้บริการที่ไม่โปร่งใสต่อตัวผู้ใช้ ติดตามเราเพิ่มเติมได้ที่ yeswebdesignstudio.com Facebook : yeswebdesignstudio Instagram : yeswebdesign_bkk Twitter : yeswebdesignbkk 
หน้าแรก 101

มีโปรเจกต์ในใจแล้วใช่ไหม ?

Have A project in mind?

Leave us your message
and we'll get back to you within 2 hours!

ฝากข้อความของคุณไว้
และเราจะตอบกลับไปหาคุณภายใน 2 ชั่วโมง!