กลยุทธ์ Brand Color หรือการใช้สีสร้างแบรนด์ให้น่าจดจำ

บทความโดย Yes Web Design Studio

คุณเคยได้ยินคำว่า “สีสร้างแบรนด์” ผ่านหูผ่านตามาบ้างหรือเปล่า? ต้องบอกว่าประโยคนี้เป็นเรื่องจริง สำหรับคนที่อยากสร้างแบรนด์หรือทำธุรกิจให้ปังในปี 2023 นี้ คุณไม่ควรพลาดกลยุทธ์สีแบรนด์ (Brand Color) เป็นอันขาด! สำหรับวันนี้ Yes Web Design Studio (เยส เว็บ ดีไซน์ สตูดิโอ) จะมาอธิบายความสำคัญของสีแบรนด์ และความเชื่อมโยงกันระหว่างสีกับการสร้างแบรนด์ให้รู้กัน!

เลือกสีแบรนด์ที่บ่งบอกความเป็นคุณ

สีของแบรนด์ (Brand Color) เปรียบเสมือนตัวตนหรือบุคลิกของแบรนด์ ดังนั้น สีจึงมีอิทธิพลอย่างมาก เพียงเห็นแค่ครั้งเดียวก็ทำให้เกิดภาพจำได้แล้ว ลองคิดภาพดูว่าหากทุกแบรนด์ในโลกนี้ สร้างโลโก้แบรนด์เป็นสีขาวธรรมดาทั่วไปเหมือนกันหมด ก็จะไม่เกิดความแตกต่าง ไม่มีใครเด่นไปกว่าใคร ผู้คนก็จะมองแบรนด์ทุกแบรนด์เหมือน ๆ กันหมด และเกิดการสับสนได้

ในทางกลับกัน หากแบรนด์แต่ละแบรนด์มีการนำสีไปใส่ในโลโก้แบรนด์ และสีนั้นบ่งบอกความเป็นแบรนด์ได้เป็นอย่างดี ก็จะทำให้ผู้คนรับรู้ได้ว่าสีอะไร เป็นตัวแทนของแบรนด์ไหนนั่นเอง แม้สีกับการสร้างแบรนด์ ดูเหมือนจะเป็นคนละเรื่องกัน แต่กลับเป็นสิ่งที่สามารถชี้วัดการเติบโตของแบรนด์ได้เลย

เริ่มต้นจากหาตัวตนของคุณ

ก่อนนำสีกับการสร้างแบรนด์มาเชื่อมต่อกัน คุณจะต้องหาตัวของคุณหรือตอบคำถามตัวเองให้ได้ก่อนว่าองค์กรของคุณคือใคร? คุณจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายของแบรนด์, กำหนดกลุ่มเป้าหมายว่าเป็นใคร, กลุ่มเป้าหมายคิดและต้องการอะไร, คู่แข่งคือใคร กำลังทำอะไรอยู่, จุดเด่นหรือจุดแข็งของคุณคืออะไร หรืออยากให้ลูกค้ามีภาพจำของแบรนด์คุณอย่างไร จากนั้น ค่อยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่าสีไหนเหมาะกับแบรนด์ของเรามากที่สุด

ความหมายของสีแบรนด์ (Brand Color)

หากคุณลองสังเกตหรือนึกย้อนกลับไปตอนที่เห็นโลโก้ของแบรนด์ต่าง ๆ คุณจะพบว่าทุกแบรนด์มีการใช้สีแตกต่างกันไป นั่นเป็นเพราะว่าแบรนด์แต่ละแบรนด์มีการวางเรื่องราวของแบรนด์ หรือกำหนดภาพจำของแบรนด์ไม่เหมือนกัน และยังรวมไปถึงกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันด้วย

สีแบรนด์ (Brand Color) แต่ละสี จะให้ความหมายที่แตกต่างกัน คุณลองศึกษาเรื่องความหมายของสีแบรนด์ในบทความนี้ดูก่อนได้เลย จากนั้นค่อยนำไปพิจารณาว่าแบรนด์ของคุณเหมาะกับสีอะไร

ซึ่งสีของแบรนด์ที่เรานำมาแนะนำในบทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น หากคุณมองว่าแบรนด์ของคุณควรใช้สีอื่น ๆ อย่างสีม่วง สีชมพู สีเขียวหัวเป็ด สีฟ้าน้ำทะเล สีโอลด์โรส ฯลฯ ก็สามารถใช้สีเหล่านั้นได้ ไม่จำเป็นต้องยึดติดภาพว่าจะต้องเป็นสีแดง น้ำเงิน เหลือง หรือเขียวเท่านั้น

Example of red color palette usage for Budweiser.

เครดิตภาพ Budweiser

สีแบรนด์สีแดง (Red Branding)

สีแบรนด์สีแดงเป็นสีที่มีพลังและเปี่ยมล้นไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะความตื่นเต้นเร้าใจ, ความมุ่งมั่น, ความตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า, ความกล้าหาญ ความเป็นผู้นำ, ความน่าเชื่อถือ และความมุ่งมั่น สีแดงช่วยกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกได้ดี อีกทั้งยังดูโดดเด่นสะดุดตา จึงทำให้แบรด์ดัง ๆ หลายแบรนด์เลือกใช้สีนี้เป็นสีประจำองค์กร อีกทั้งยังใช้ในป้าย Sale ต่าง ๆ ด้วย

ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้สีแดงเป็นสีประจำองค์กร : Budweiser, Coca-Cola, Netflix, H&M, Youtube, KFC, KitKat, Pizza Hut, Canon, Huawei, TipCo, Nintendo, Toyota, Makro ฯลฯ

Example of Yellow color palette usage for Snapchat.

เครดิตภาพ Snapchat

สีแบรนด์สีเหลือง (Yellow Branding)

เห็นสีเหลืองทีไร ความพลังงานแห่งความสุขก็พวยพุ่งขึ้นมาให้รับรู้ได้อย่างชัดเจน สีเหลืองจึงมักจะเป็นตัวแทนถึงรอยยิ้ม มิตรภาพอันดีงาม ความร่าเร่ง ควาเพลิดเพลิน ความหวัง และให้พลังงานที่สดใส เราจะเห็นได้ว่าแบรนด์ที่มีจุดขายด้านความเป็นมิตร มักจะใช้สีเหลืองเป็นสรประจำองค์กร

ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้สีเหลืองเป็นสีประจำองค์กร : Snapchat, Mc Donald’s, DHL, Nok Air, Schwepper, Banana IT, Chupa Chupa, Kodak ฯลฯ

Example of blue color palette usage in brands

เครดิตภาพ McKinsey

สีแบรนด์สีน้ำเงิน (Blue Branding)

สีน้ำเงินแสดงถึงความน่าเชื่อถือ ความน่าไว้วางใจ ความซื่อสัตย์ภักดี ความแข็งแรง ความแน่วแน่ และความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังมีความสงบเรียบร้อย สง่างาม และน่าเคารพคบหาอีกด้วย ดังนั้น จึงทำให้สีน้ำเงินเป็นสียอดฮิตที่ใช้ในการสร้างแบรนด์ ได้รับความนิยมไม่แพ้กับสีแดงเลย

ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้สีน้ำเงินเป็นสีประจำองค์กร : McKinsey, Facebook, PTT, Nokia, Est Cola, Ford, Panasonic, Samsung, Visa, IBM, BMW, WordPress, Dell, Oreo, Pepsi ฯลฯ

Example of green color palette usage in brands

เครดิตภาพ Fidelity

สีแบรนด์สีเขียว (Green Branding)

ดูเหมือนว่าสีแบรนด์สีเขียวมักจะถูกใช้กับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ เพราะสีเขียวเปรียบเสมือนกับธรรมชาติ ให้ความรู้สึกร่มรื่นสบายตาและสบายใจ ซึ่งความหมายของสีเขียวไม่ได้มีเท่านี้อย่างแน่นอน เพราะสีเขียวยังหมายถึงความสันติ ความสมดุล ความโชคดี ความปลอดภัย ความเจริญรุ่งโรจน์ และสุขภาพที่ดีอีกด้วย

ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้สีเขียวเป็นสีประจำองค์กร : Fidelity, Starbucks Coffee, Grab, Milo, LINE, AIS, SENA, Chang, Oppo, Unif, Kasikorn Bank ฯลฯ

สรุป

เราต้องเลือกสีแบรนด์ หรือ Brand Color ที่สะท้อนภาพของแบรนด์ออกไปได้จริง ๆ อย่าง Yes Web Design Studio เราเลือกใช้สีแดงที่สื่อถึงความมีพลัง ความไฟแรง ความุ่งมั่น และความน่าเชื่อถือ เพื่อให้ผู้คนจดจำว่าเราเป็นบริษัททำเว็บไซต์มืออาชีพ ที่มีความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์เว็บไซต์ให้กับลูกค้าทุกคน

นอกจาก สีแบรนด์ (Brand Color) จะสะท้อนตัวตนและวัฒนธรรมองค์กรได้แล้ว ยังช่วยสื่อสารและเชื่อมโยงความรู้สึกของคุณ ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย สุดท้ายนี้! อย่าลืมว่าหลังจากที่เรากำหนดสีของแบรนด์ได้แล้ว เราต้องนำชุดสีดังกล่าวไปใช้ในการสร้างสรรค์งานกราฟิก ออกแบบเว็บไซต์ และดำเนินงานต่าง ๆ ที่มีการใช้สีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้ภาพรวมของแบรนด์และ Mood & Tone อยู่ในทิศทางเดียวกัน

รับสร้างแบรนด์และทำการตลาด ติดต่อเลย!

Tel. : 096-879-5445
LINE : @yeswebdesign
E-mail : info@yeswebdesignstudio.com
Facebook : Yes Web Design Studio I Web Design Company Bangkok
Instagram : yeswebdesign_bkk
Address : ชั้น 17 อาคารวิทยกิตติ์ ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 (สถานี BTS สยาม)

มีโปรเจกต์ในใจแล้วใช่ไหม ?