E-E-A-T คือไม้เด็ด ช่วยงัดประสิทธิภาพ SEO ให้ปัง!

บทความโดย Yes Web Design Studio

อยากกระตุ้นประสิทธิภาพของ SEO ให้สูงขึ้น สร้างการเข้าถึงเว็บไซต์จำนวนมาก และผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพจริง ต้องคำนึงถึงหลักการ E-E-A-T Factor หรือ Google E-A-T เสียก่อน! ขอบอกเลยว่าสิ่งนี้ เป็นสิ่งที่คนทำ SEO ควรจะรู้จักเป็นอย่างดี เพราะนับว่าเป็นหนึ่งในหัวใจหลัก ที่สำคัญไม่แพ้กับปัจจัยอื่น ๆ เลย

SEO หรือ Search Engine Optimize คือการสร้างสรรค์คำตอบ พัฒนาเนื้อหาเว็บไซต์ และเตรียมสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการไว้ล่วงหน้า เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมาเจอเราเมื่อค้นหาสิ่งเหล่านั้นบน Search Engine โดยการทำ SEO นั้น เป็นการทำเพื่อกลุ่มเป้าหมาย (User) อย่างแท้จริง หากเราทำตรงนี้ได้ดี เว็บไซต์เราก็จะดีขึ้นตามไปด้วย และกลุ่มเป้าหมายที่ว่านี้ จะกลายมาเป็นลูกค้าเราอย่างแท้จริง

แต่การที่เราจะทำคอนเทนต์ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมายได้ เราจะต้องรู้เสียก่อนว่ากลุ่มเป้าหมายต้องการอะไร? ค้นหาอะไร? และอยากรู้อะไรเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ และ Google E-E-A-T นี่แหละ จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับคุณได้เป็นอย่างดี ทั้งในสายตาของกลุ่มเป้าหมายและสายตาของ Google ด้วยเช่นกัน

ดังนั้น เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปทำความรู้จักกันเลยว่า E-E-A-T คืออะไร? ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง? มีเทคนิคการทำอย่างไร? ฯลฯ เพราะพวกเรา Yes Web Design Studio รวบรวมข้อมูลมาไว้ในบทความนี้ให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว!

Google E-E-A-T Factor

เครดิตภาพ seoinc

Google E-E-A-T คืออะไร?

Google E-E-A-T Factor เป็นปัจจัยหนึ่งของระบบประมวลผล (Algorithm) ที่ Google ใช้ในการนำมาพิจารณาว่าเว็บไซต์ของเรามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับประสิทธิภาพของการทำ SEO ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นคะแนนเว็บไซต์ หรืออันดับการค้นหาของ Keyword ต่าง ๆ ก็ตาม

เดิมที Factor นี้จะมีเพียง 3 ปัจจัยเท่านั้น นั่นก็คือ Expertise, Authoritativeness และ Trustworthiness แต่เมื่อไม่นานมานี้ Google เพิ่ม Experience เข้ามาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาประสิทธิภาพของการทำ SEO ด้วย

โดยการวัดผลของ SEO นั้น คนส่วนใหญ่มักจะยึดเอาอันดับการค้นหาของคีย์เวิร์ด (Keyword Ranking) เป็นหลัก ยิ่งอยู่บนหน้าแรก ๆ ของ Google และอยู่ในอันดับที่สูงมากเท่าไหร่ ก็แปลว่ามีโอกาสที่คนจะมองเห็นและคลิกเข้าชมเว็บไซต์ของเรามากขึ้น แล้วสิ่งที่จะทำให้อันดับการค้นหาของคีย์เวิร์ดมันสูงขึ้นคืออะไรล่ะ? หลัก ๆ ก็คือเนื้อหาที่มีคุณภาพและผ่านการรังสรรค์ด้วย E-E-A-T Factor นั่นเอง!

แต่การติดอันดับนั้น ไม่ได้แปลว่าจะอยู่ตำแหน่งเดียวตลอดไป ถึงคุณจะเคยติดอันดับ 1 ที่หน้าแรกของ Google มาแล้ว ใช่ว่าพรุ่งนี้คุณจะรักษาตำแหน่งเดิมเอาไว้ได้โดยไม่ทำอะไร เว็บไซต์คู่แข่งสามารถพลิกคะแนนขึ้นมานำคุณได้ทุกเมื่อ หากคุณต้องการให้เว็บไซต์ของคุณไปติดอยู่ในอันดับดี ๆ อย่างมั่นคง เป็นระยะเวลานาน คุณก็ควรให้คุณค่าและใส่ใจการทำ Google E-E-A-T Factor ในบทความด้วย

Keyword Ranking Example by Yes Web Design Studio

ตัวอย่างการติดอันดับการค้นหาบน Google

ความสำคัญของ E-E-A-T SEO

รู้หรือไม่ว่าทำไม… Google ถึงปล่อย E-E-A-T SEO ออกมา? เหตุผลก็มาจากบรรดาข้อมูลผิด ๆ ที่บริษัทต่าง ๆ ชอบปล่อยออกมา เพื่อทำให้ผู้บริโภคเชื่อว่านั่นคือเรื่องจริง โดยเฉพาะกับพวกยาที่สามารถรักษาได้ทุกโรค โลกชั่นที่ทาแล้วผิวขาวทันที สบู่ที่ใช้แล้วช่วยลดไขมัน ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและการรักษาโรคเป็นหลัก ไม่ว่าใครก็สามารถเขียนเนื้อหาเหล่านี้ลงบนในโลกออนไลน์ได้

และ Google ก็จะดึงเอาหน้าเว็บไซต์ที่มีข้อมูลเยอะ ๆ มาแสดง โดยที่ไม่ได้มีการพิจารณาเนื้อหาเลยว่าเป็นเรื่องจริงไหมและน่าเชื่อถือมากเพียงใด เมื่อมีคนเชื่อข้อมูลเหล่านี้มาก ๆ มีการอุดหนุนและซื้อมาใช้ ผลลัพธ์กลับไม่ได้เป็นอย่างที่เคลมไว้ แถมยังส่งผลเสียต่อสุขภาพ และบางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตเลย

ด้วยเหตุนี้ Google เลยตัดสินใจสร้าง Algorithm ที่ใช้ในการตรวจจับความน่าเชื่อถือข้อมูลขึ้นมา โดยให้ชื่อว่า E-A-T Factor หาก Algorithm นี้ตรวจพบว่าว่าหน้าเว็บไซต์ไหน ให้ข้อมูลผิด ๆ ไร้ความน่าเชื่อถือ และใช้คำเคลมเกินความเป็นจริง Google ก็จะปิดการมองเห็นหน้านั้นไป และให้คะแนนเว็บไซต์ที่ต่ำลง

Whats is E-E-A-T Factor

เครดิตภาพ onder

E-E-A-T Factor มีอะไรบ้าง?

จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ Google นำมาพิจารณาคะแนนของการทำ SEO และเว็บไซต์ จะเป็นการให้ความสำคัญต่อตัวผู้ใช้งานเว็บไซต์ หรือผู้ที่ทำการค้นหา (User) เป็นหลัก ดังนั้น หากเราจะเขียนบทความขึ้นมาสักหนึ่งบทความ เราจะต้องคำนึงถึงตัวผู้ที่ค้นหาข้อมูลด้วย ซึ่งก็คือการให้ข้อมูลตามความเป็นจริง และมีประโยชน์นี่เอง สำหรับปัจจัยที่อยู่ใน E-E-A-T Factor จะมีอะไรบ้าง? เราไปดูกันต่อได้เลย!

Experience (ประสบการณ์)

E ตัวแรกคือ Experience ที่เป็นปัจจัยล่าสุดที่ Google ใส่เข้ามา Factor นี้ สิ่งนี้ก็คือประสบการ์ณ แต่ไม่ใช่ประสบการ์ณการใช้งานเว็บไซต์ของ User นะ แต่เป็นประสบการณ์ของตัวผู้เขียนเอง ที่ได้ถ่ายทอดลงไปในเนื้อหาที่เขียนขึ้นมา

ดังนั้น เนื้อหาจะมีการสอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัวลงไปด้วย และถ้าไม่ซ้ำกับบทความเรื่องเดียวกันที่อยู่ในเว็บไซต์อื่นจะเป็นการดีที่สุด เพราะจะทำให้ Google รับรู้ได้ว่าผู้เขียนได้ไปสัมผัสกับเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยตัวเองจริง ๆ 

Expertise (ความเชียวชาญ)

E ตัวที่สองคือ Expertise หรือความเชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความ “รู้ลึก รู้จริง” ซึ่งมักจะถูกใช้ในบทความที่มีความเฉพาะทาง เช่น การศัลยกรรม การรักษาสุขภาพ การแพทย์ หรือการทำเว็บไซต์อย่างที่ Yes Web Design Studio เชี่ยวชาญ เป็นต้น

สิ่งที่ถ่ายทอดออกมาผ่านเนื้อหาจะต้องลงลึกทุกรายละเอียด ให้ข้อมูลที่เฉพาะทางได้อย่างครบถ้วนและชัดเจน โดยอาจจะเป็นการเขียนบทความยาว ๆ (ความยาวอย่างน้อย 1,000 คำขึ้นไป), การเขียนบทความที่ถูกต้องตามหลัก On-Page SEO, การเขียนบทความที่มีเนื้อหาครบถ้วน และที่สำคัญคือการเขียนออกมาให้รู้เรื่อง

Expertise in specific field helps blogs become more trustworthy.

เครดิตภาพ Investopedia

Authoritativeness (อำนาจหรืออิทธิพล)

A เป็นตัวแทนของคำว่า Authoritativeness หรืออำนาจและความมีอิทธิพลต่อสิ่งนั้น ๆ  นั่นหมายความว่าในเมื่อคุณมีความเชี่ยวชาญ (Expertise) และมีประสบการณ์ (Experience) ในเรื่องนั้นมาก่อนแล้ว คุณย่อมเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพ น่าเชื่อถือ มีอำนาจ และมีอิทธิพลในด้านดังกล่าว

แนะนำให้ทุกหัวข้อและเนื้อหาทุกส่วนเป็นไปในเรื่องเดียวกัน, เพิ่มลิงก์เชื่อมโยงบทความที่เกี่ยวข้อง, เขียนเนื้อหาเรื่องเดียวกันแต่คนละหัวข้อ (Keyword) ขึ้นเว็บไซต์เรื่อย ๆ , มีการอัปเดตเนื้อหา หรือปีปัจจุบันอยู่เสมอ หรือแชร์บทความไปยัง Social Media เป็นต้น (ตรงส่วนนี้ จะเริ่มเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการทำ Off-Page SEO)

Trustworthiness (ความน่าเชื่อถือ)

T ย่อมาจาก Trustworthiness หรือความน่าเชื่อถือ โดยความน่าเชื่อนี้จะถูกพิจารณาจากตัวข้อมูลที่เขียนขึ้น และภาพรวมของเว็บไซต์ประกอบกัน ข้อมูลบนเว็บไซต์ของคุณควรเป็นของจริงทั้งหมด และมีความโปร่งใส ซื่อสัตย์ (การทำ SEO แบบสายขาว 100% หรือทำทุกอย่างถูกต้องตามกฎของ Google) 

อย่างการใส่ที่มาของข้อมูล, เว็บไซต์ที่อ้างอิง (External Link), ชื่อผู้เขียน, ชื่อประจำตำแหน่งของผู้เขียน, อาชีพของผู้เขียน หรือประวัติของผู้เขียน เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่นคุณเป็นเว็บไซต์ของโรงพยาบาลศัลยกรรมแห่งหนึ่ง เขียนบทความเกี่ยวกับการศัลยกรรมหน้าอก การลงชื่อผู้เขียนก็จะต้องเป็นชื่อแพทย์ ตำแหน่งศัลยแพทย์ตกแต่งเฉพาะทาง และถ้ามีภาพของผู้เขียนด้วยก็จะดียิ่งขึ้นไปอีก!

สรุป

การทำ E-E-A-T คือการตรวจสอบเว็บไซต์วิธีหนึ่ง เพื่อเช็คว่าประสิทธิภาพ SEO ของเราเป็นอย่างไร เว็บไซต์เรามีคุณภาพไหม หรือเรามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ซึ่ง E-E-A-Tเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น เพราะ Google ยังมีปัจจัยที่ใช้วัดผลและวัดศักยภาพอีกเพียบ และถึงคุณจะผลิตเนื้อหาที่ตรงตามหลักเกณฑ์ E-A-T Factor แบบ 100% โดยไม่มีตกหล่น ก็ไม่ได้เห็นผลในทันทีอยู่ดี ซึ่งจะต้องใช้เวลาระยะหนึ่งไม่ต่างจาก SEO เลย ถึงจะเห็นผลตามที่คุณได้คาดหวังเอาไว้

อยากทำการตลาดออนไลน์ ติดต่อมาได้เลย!

Tel. : 096-879-5445
LINE : @yeswebdesign
E-mail : info@yeswebdesignstudio.com
Facebook : Yes Web Design Studio I Web Design Company Bangkok
Instagram : yeswebdesign_bkk
Address : ชั้น 17 อาคารวิทยกิตติ์ ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 (สถานี BTS สยาม)

มีโปรเจกต์ในใจแล้วใช่ไหม ?