LLM (large language models) คืออะไร? ฉบับเข้าใจง่าย

บทความโดย Yes Web Design Studio

large language models คืออะไร
Table of Contents

ในทุกวันนี้ เทคโนโลยี AI กำลังเปลี่ยนแปลงโลกอย่างรวดเร็ว และเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างมาก LLM (Large Language Models) หรือโมเดลภาษาขนาดใหญ่ได้กลายเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ภาษาและข้อมูล และนับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญ แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่า LLM คืออะไรกันแน่? และมันทำงานอย่างไร? บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจแบบเจาะลึกแต่เข้าใจง่าย

 

 

Large Language Models (LLM) คืออะไร?

 

Large Language Models (LLM) คืออะไร?

รูปภาพจาก : Duke Mids

 

แบบจำลองภาษาขนาดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยี AI เพื่อเข้าใจ วิเคราะห์ และสร้างภาษามนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) แบบจำลองเหล่านี้ถูกฝึกฝนด้วยข้อมูลข้อความจำนวนมหาศาล ตั้งแต่หนังสือ บทความ เว็บไซต์ และเอกสารต่าง ๆ ทั่วโลก ทำให้มีความสามารถในการจดจำรูปแบบภาษา เข้าใจบริบท และตอบสนองต่อคำถามหรือคำสั่งได้อย่างแม่นยำ

 

โมเดลนี้เรียนรู้จากข้อมูลในลักษณะที่คล้ายกับการที่เด็กเรียนรู้ภาษา แต่ในปริมาณที่มากกว่าหลายพันเท่า ทำให้สามารถเข้าใจโครงสร้างประโยค ความหมาย และความสัมพันธ์ระหว่างคำในภาษาต่าง ๆ ได้

 

ความแตกต่างระหว่าง LLM กับ AI ทั่วไป

AI เป็นคำเรียกกว้าง ๆ ที่หมายถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานที่ต้องใช้ความฉลาดแบบมนุษย์ได้ ในขณะที่ LLM เป็นประเภทเฉพาะของ AI ที่มุ่งเน้นไปที่การประมวลผลภาษาธรรมชาติ ซึ่งมีความสามารถหลักดังนี้ 

 

ขอบเขตความสามารถ – AI ทั่วไปอาจรวมถึงระบบที่มองเห็นภาพ ประมวลผลเสียง หรือควบคุมหุ่นยนต์ แต่ LLM จะเน้นเฉพาะเรื่องภาษา

 

ความซับซ้อน – Large Language Models มักมีพารามิเตอร์จำนวนมากเพื่อให้สามารถจดจำและวิเคราะห์รูปแบบภาษาที่ซับซ้อนได้

 

วัตถุประสงค์ – LLM ถูกออกแบบมาเพื่อเข้าใจและสร้างภาษามนุษย์โดยเฉพาะ ในขณะที่ AI ทั่วไปอาจถูกสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะด้านอื่น ๆ เท่านั้น

 

สรุปแล้ว Large Language Models มีความแตกต่างจาก AI ทั่วไปตรงที่สามารถเข้าใจบริบทของภาษามนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น ในขณะที่ AI ทั่วไปจะทำงานตามกฎที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ LLM สามารถเรียนรู้จากข้อมูลและปรับการตอบสนองให้เหมาะสมกับบริบท ทำให้สามารถใช้งานได้หลากหลาย ตั้งแต่การสนทนาอัจฉริยะไปจนถึงการช่วยเขียนเนื้อหาต่าง ๆ ได้

 

 

หลักการทำงานของ LLM

 

การใช้ Neural Network และ Deep Learning

Large Language Models ทำงานบนพื้นฐานของเทคโนโลยี Neural Network หรือ โครงข่ายประสาทเทียม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Deep Learning โดยโครงสร้างนี้จำลองการทำงานของสมองมนุษย์ ประกอบด้วยชั้นของหน่วยประมวลผลจำนวนมากที่เชื่อมโยงกัน และใช้สถาปัตยกรรมพิเศษที่เรียกว่า Transformer ซึ่งช่วยให้แบบจำลองสามารถเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างคำในประโยคได้ แม้ว่าคำเหล่านั้นจะอยู่ห่างกันก็ตาม ซึ่งกลไกที่เรียกว่า “attention mechanism” ทำให้แบบจำลองสามารถให้ความสำคัญกับคำที่เกี่ยวข้องในบริบทได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ข้อมูลจาก : https://www.sap.com/resources/what-is-large-language-model 

 

ข้อมูลที่ใช้ฝึก LLM และกระบวนการเรียนรู้

กระบวนการเรียนรู้ของโมเดลนี้แบ่งเป็นสองขั้นตอนหลัก ดังนี้

 

  1. การฝึกฝนล่วงหน้า (Pre-training) : LLM จะถูกป้อนข้อมูลข้อความจำนวนมหาศาลเพื่อให้เรียนรู้รูปแบบการใช้ภาษา ซึ่งข้อมูลที่ใช้มักมาจากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็น หนังสือและวรรณกรรม บทความวิชาการ ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต หรือเอกสารต่าง ๆ
  2. การปรับแต่ง (Fine-tuning) : หลังจากการฝึกฝนล่วงหน้า แบบจำลองจะถูกปรับแต่งด้วยข้อมูลที่มีคุณภาพสูงและคำตอบที่พึงประสงค์ เพื่อให้ผลลัพธ์มีความเหมาะสมและปลอดภัยมากขึ้น

 

ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วยการฝึกฝนโมเดลให้สามารถเข้าใจโครงสร้างไวยากรณ์ ความหมาย และบริบทของภาษาได้อย่างแม่นยำ

 

 

ความสามารถของ LLM มีอะไรบ้าง?

 

ความสามารถของ LLM มีอะไรบ้าง?

รูปภาพจาก : altexsoft

 

Large Language Models เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมากในยุคดิจิทัล และมีความสามารถในหลากหลายด้าน เช่น

 

สร้างเนื้อหา

สามารถใช้ AI สร้างเนื้อหาได้หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นบทความ บทวิจารณ์ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย บทกวี หรือแม้แต่เรื่องสั้น โดยเครื่องมือนี้สามารถเลียนแบบสไตล์การเขียนที่แตกต่างกันและทำให้เนื้อหาดูเป็นธรรมชาติได้

 

การแปลภาษา

รองรับการแปลข้อความระหว่างภาษาต่าง ๆ โดยใช้การเรียนรู้เชิงบริบท ทำให้สามารถแปลได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมชาติมากกว่าการแปลแบบดั้งเดิมที่เน้นเพียงคำศัพท์

 

การสรุปข้อมูล

สามารถย่อข้อมูลจากเนื้อหาขนาดใหญ่ให้เป็นข้อความสั้นที่ยังคงใจความสำคัญ เช่น การสรุปข่าว รายงาน หรือบทความยาว ๆ ให้กลายเป็นเนื้อหาที่กระชับและเข้าใจง่าย

 

การตอบคำถาม

ทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลที่สามารถตอบคำถามจากฐานข้อมูลที่เรียนรู้มา ไม่ว่าจะเป็นคำถามเชิงข้อเท็จจริง หรือการให้คำอธิบายที่มีรายละเอียดเพิ่มเติม

 

การเขียนโค้ด

ช่วยเขียนโค้ดในภาษาต่าง ๆ เช่น Python, JavaScript หรือ C++ รวมถึงช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดและให้คำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างโค้ดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

การวิเคราะห์ข้อความ

สามารถตรวจจับอารมณ์ของข้อความ (Sentiment Analysis) ว่ามีความเป็นบวก ลบ หรือเป็นกลาง รวมถึงสามารถวิเคราะห์แนวโน้มของความคิดเห็นบนโซเชียลมีเดียหรือรีวิวสินค้าได้

 

การแนะนำและให้คำปรึกษา

ให้คำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อต่าง ๆ ได้ เช่น การวางแผนธุรกิจ การให้คำปรึกษาทางอาชีพ หรือแม้แต่การให้คำแนะนำด้านสุขภาพเบื้องต้น

 

 

ตัวอย่างการใช้งาน LLM ในชีวิตประจำวัน

Large Language Models ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราแล้วในหลายด้าน ตัวอย่างเช่น 

 

ผู้ช่วยอัจฉริยะ – แอปพลิเคชันแชทบอทอย่าง ChatGPT หรือ Claude ที่ช่วยตอบคำถาม เขียนอีเมล วางแผนการเดินทาง หรือแม้แต่แนะนำสูตรอาหารจากวัตถุดิบที่มีอยู่ในตู้เย็นที่ช่วยประหยัดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานประจำวันได้ 

 

เครื่องมือช่วยเหลือด้านการศึกษา – นักเรียนและนักศึกษาสามารถใช้โมเดลนี้เพื่อช่วยอธิบายแนวคิดที่ซับซ้อน ทบทวนบทเรียน หรือช่วยร่างเค้าโครงรายงานได้ ซึ่งประโยชน์ตรงนี้ทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยผู้เรียนสามารถเข้าถึงความรู้ได้ทันทีเมื่อต้องการ

 

 

ข้อดีและข้อจำกัดของ LLM

 

ข้อดี

 

  • เป็นเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ เพราะสามารถให้คำตอบและให้ความช่วยเหลือได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องรอ
  • เป็นเครื่องมือที่ทำงานได้หลายอย่างตั้งแต่การเขียน การแปล ไปจนถึงการวิเคราะห์
  • ผู้ใช้สามารถเข้าถึงความรู้จากเครื่องมือนี้ได้ เพราะเป็นระบบที่รวบรวมและนำเสนอข้อมูลจากแหล่งความรู้จำนวนมาก
  • พร้อมให้บริการตลอดเวลาโดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา
  • สามารถปรับเปลี่ยนสไตล์การเขียนหรือระดับความซับซ้อนตามความต้องการของผู้ใช้ได้

 

ข้อจำกัด

 

  • โมเดลอาจมีข้อมูลที่ล้าสมัยเพราะมีข้อมูลจำกัดตามช่วงเวลาที่ได้รับการฝึกฝน
  • ผู้ใช้จำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับ เพราะข้อมูลอาจไม่ถูกต้องหรือถูกสร้างขึ้นมาเอง 
  • โมเดลอาจมีอคติในข้อมูลที่ระบบได้รับการฝึกฝนมา
  • แม้ว่าโมเดลจะสามารถเข้าใจรูปแบบภาษา แต่ก็ยังขาดความเข้าใจที่ลึกซึ้งเหมือนมนุษย์
  • การใช้งานอาจมีความเสี่ยงด้านข้อมูลส่วนบุคคล
  • การใช้งานมากเกินไปอาจลดทักษะการคิดวิเคราะห์

 

 

สรุป

Large Language Models เป็นเทคโนโลยี AI ขั้นสูงที่มีความสามารถในการเข้าใจและสร้างภาษามนุษย์ได้อย่างน่าทึ่ง และกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในหลายอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโมเดลนี้จะมีศักยภาพสูง แต่ก็ยังมีข้อจำกัด ต่าง ๆ ที่ผู้ใช้งานควรระวัง ดังนั้น การใช้งานโมเดลนี้ให้มีประสิทธิภาพควรมีความรอบคอบและวิจารณญาณ

 

ในอนาคต เทคโนโลยีนี้จะยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และอาจเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ LLM จะช่วยให้เราสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจาก AI ได้ดียิ่งขึ้น

 

หากธุรกิจของคุณต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของ Yes Web Design Studio ได้ เราเป็นบริษัทเว็บดีไซน์ชั้นนำในไทยที่ไม่เพียงรับทำเว็บไซต์ แต่ยังให้คำปรึกษาด้านการตลาดดิจิทัลและ AI Solution อย่างครบวงจร

 

 

 

 

Yes Web Design Studio
Tel. : 096-879-5445
LINE : @yeswebdesign
E-mail : [email protected]
Address : ชั้น 17 อาคารวิทยกิตติ์ ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 (สถานี BTS สยาม)

มีโปรเจกต์ในใจแล้วใช่ไหม ?