อินโฟกราฟิก คืออะไร? มีกี่ประเภท และ Infographic ที่ดีต้องมีอะไรบ้าง

บทความโดย Yes Web Design Studio

อินโฟกราฟิก คืออะไร_ มีกี่ประเภท
Table of Contents

เคยสงสัยไหมว่าทำไมเราถึงชอบดูรูปภาพมากกว่าอ่านตัวหนังสือจำนวนมาก? นั่นเป็นเพราะสมองเรารับข้อมูลจากภาพได้เร็วกว่าตัวอักษรถึง 60,000 เท่า และนี่คือเหตุผลที่ทำให้อินโฟกราฟิกกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ทรงพลังในยุคดิจิทัล มารู้จักอินโฟกราฟิกให้มากขึ้นพร้อมกันผ่านบทความนี้

 

 

อินโฟกราฟิก คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญในยุคดิจิทัล

อินโฟกราฟิก (Infographic) เป็นการรวมคำว่า Information และ Graphic เข้าด้วยกัน เป็นการนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายผ่านภาพกราฟิก อินโฟกราฟิกจะช่วยย่อยข้อมูลหนัก ๆ ให้กลายเป็นความรู้ที่เข้าถึงง่ายและน่าสนใจ

 

 

มีกี่ประเภทของอินโฟกราฟิกมีกี่ประเภท? พร้อมตัวอย่างการใช้งาน

 

อินโฟกราฟิกแบบสถิติ (Statistical Infographic)

 

ตัวอย่าง อินโฟกราฟิกแบบสถิติ (Statistical Infographic)

 

เน้นนำเสนอตัวเลข สถิติ ผลวิจัย ด้วยกราฟและชาร์ตรูปแบบต่าง ๆ เหมาะสำหรับรายงานผลประกอบการ ผลสำรวจตลาด หรือแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค

 

 

อินโฟกราฟิกแบบกระบวนการ (Process Infographic)

 

ตัวอย่าง อินโฟกราฟิกแบบกระบวนการ (Process Infographic)

 

แสดงขั้นตอนหรือกระบวนการทำงานแบบเป็นลำดับ ช่วยให้เห็นภาพรวมของกระบวนการทั้งหมด เช่น วิธีทำอาหาร ขั้นตอนการสมัครงาน หรือกระบวนการผลิตสินค้า

 

 

อินโฟกราฟิกแบบเปรียบเทียบ (Comparison Infographic)

 

ตัวอย่าง อินโฟกราฟิกแบบเปรียบเทียบ (Comparison Infographic)

 

ใช้เปรียบเทียบสิ่งของสองอย่างหรือมากกว่านั้น ช่วยให้ผู้อ่านเห็นความแตกต่างได้ชัดเจน เช่น เปรียบเทียบราคาบ้านในแต่ละจังหวัด หรือเปรียบเทียบแพ็กเกจอินเทอร์เน็ต

 

 

อินโฟกราฟิกรูปแบบลิสต์รายการ (List Infographics)

 

ตัวอย่าง อินโฟกราฟิกรูปแบบลิสต์รายการ (List Infographics)

 

เน้นการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแจกแจงรายการข้อมูลเป็นข้อ ๆ เหมาะกับเนื้อหาประเภท เทคนิค หรือ วิธีการทำสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น โดยข้อมูลที่นำมาทำจะต้องมีความกระชับ และสามารถนำมาเรียงในรูปภาพได้ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น

 

 

อินโฟกราฟิกแบบไทม์ไลน์ (Timeline Infographic)

 

ตัวอย่าง อินโฟกราฟิกแบบไทม์ไลน์ (Timeline Infographic)

 

ประเภทนี้จะแสดงลำดับเวลาของเหตุการณ์สำคัญ ช่วยให้เห็นพัฒนาการหรือการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่าง ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการ หรือประวัติบุคคลสำคัญ

 

 

อินโฟกราฟิกแบบลำดับชั้นความสำคัญ (Hierarchical Infographic)

 

ตัวอย่าง อินโฟกราฟิกแบบลำดับชั้นความสำคัญ (Hierarchical Infographic)

 

เป็นอินโฟกราฟิกที่แสดงโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงลำดับขั้นของข้อมูลนั้น ๆ โดยอาจจะใช้สัญลักษณ์ หรือสี เพื่อบอกถึงความสำคัญ เช่น โครงสร้างองค์กร ระบบการจัดหมวดหมู่ หรือแผนผังความสัมพันธ์ของข้อมูล

 

 

อินโฟกราฟิกแบบข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์ (Geographic Infographic)

 

ตัวอย่าง อินโฟกราฟิกแบบข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์ (Geographic Infographic)

 

อินโฟกราฟิกประเภทนี้จะเน้นนำเสนอข้อมูลบนแผนที่หรือตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ เช่น สถิติประชากรในแต่ละภูมิภาค หรือแผนที่ท่องเที่ยว

 

 

รูปแบบข้อมูลเนื้อหา (Information Infographic)

 

ตัวอย่าง รูปแบบข้อมูลเนื้อหา (Information Infographic)

 

ส่วนในลำดับสุดท้าย น่าเป็นหนึ่งในรูปแบบที่พบได้บ่อย ก็คือ Information Infographic หรืออินโฟกราฟิก เชิงให้ข้อมูล โดยจะเน้นการสรุปข้อมูลที่น่าสนใจให้อ่านง่ายและกระชับ เพื่อการนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจง่าย และรวดเร็ว

 

 

Infographic ที่ดีต้องมีอะไรบ้าง?

อินโฟกราฟิกที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงแค่ดึงดูดสายตาเท่านั้น แต่จะต้องสามารถสื่อสารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคุณสมบัติของอินโฟกราฟิกที่ดี มีดังนี้

 

เนื้อหากระชับและเข้าใจง่าย

อินโฟกราฟิกที่ดีจะต้องลดรายละเอียดและกลั่นกรองข้อมูลให้เหลือเฉพาะส่วนสำคัญและตัดทอนเนื้อหาที่ไม่จำเป็น ใช้ภาษาที่อ่านง่าย หลีกเลี่ยงคำฟุ่มเฟือย ใช้ประโยคที่กระชับ ตรงประเด็น ไม่ซับซ้อน ทำให้ผู้อ่านเข้าใจประเด็นหลักได้ในการมองแวบเดียว และยังต้องรักษาสมดุลระหว่างข้อความกับองค์ประกอบภาพ โดยให้ข้อความไม่เกิน 30% ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ยังต้องสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการเล่าเรื่องที่มีจุดเริ่มต้น กลางเรื่อง และบทสรุป

 

การออกแบบดึงดูดสายตา

ใช้สีสันสดใส แต่ไม่มากเกินไป รักษารูปแบบการออกแบบให้สอดคล้องกันตลอดทั้งชิ้นงาน เว้นพื้นที่ว่างเพียงพอเพื่อให้เนื้อหาไม่แน่นจนเกินไป เลือกฟอนต์ที่อ่านง่าย และใช้ไอคอนที่สื่อความหมายได้ชัดเจน และในการการออกแบบต้องสวยงามและมีความสอดคล้องกับแบรนด์ และการเน้นข้อมูลสำคัญด้วยการใช้เทคนิคการออกแบบเพื่อเน้นจุดสำคัญ เช่น สี ขนาด หรือไอคอน

 

โครงสร้างชัดเจนและอ่านง่าย

ควรมีการจัดวางองค์ประกอบที่เป็นระเบียบ ออกแบบให้ผู้อ่านเข้าใจลำดับการอ่านอย่างชัดเจนจะช่วยให้ผู้อ่านติดตามเนื้อหาได้อย่างเป็นธรรมชาติ เช่น อ่านจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา มีการการจัดหมวดหมู่ด้วยการแบ่งเนื้อหาเป็นส่วน ๆ ที่เข้าใจง่าย จัดลำดับความสำคัญของข้อมูลและสะท้อนผ่านการออกแบบโดยใช้ฟอนต์ ไอคอน และรูปแบบที่สอดคล้องกันตลอดทั้งชิ้นงาน

 

ใช้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

อินโฟกราฟิกที่มีคุณภาพจะต้องมีการอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน อาจจะแสดงข้อมูลเชิงตัวเลขในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เช่น กราฟ แผนภูมิ และต้องระบุแหล่งที่มาของข้อมูลทุกครั้งเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนนำเสนอ

 

มี Call-to-Action (CTA)

ส่วนท้ายของอินโฟกราฟิกควรมีการกระตุ้นให้ผู้อ่านทำอะไรบางอย่าง โดยระบุอย่างชัดเจนว่าต้องการให้ผู้อ่านทำอะไรต่อ เช่น แชร์ ดาวน์โหลด เข้าชมเว็บไซต์ หรือติดต่อทีมงาน ซึ่งจะต้องทำให้ CTA มีความสอดคล้องกับเนื้อหาและเป้าหมายของอินโฟกราฟิก และวาง CTA ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัด มักเป็นส่วนท้ายของอินโฟกราฟิก

 

 

วิธีสร้างอินโฟกราฟิกที่ดี และมีประสิทธิภาพ

 

เลือกหัวข้อที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

ควรเลือกหัวข้อที่ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย และข้อมูลที่จะช่วยแก้ปัญหาหรือให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายของ

 

รวบรวมข้อมูลที่มีประโยชน์

ค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลเป็นปัจจุบัน ข้อมูลล้าสมัยอาจทำให้อินโฟกราฟิกขาดความน่าเชื่อถือ

 

ใช้เครื่องมือออกแบบอินโฟกราฟิก

การสร้างอินโฟกราฟิกที่มีประสิทธิภาพไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะด้านกราฟิกดีไซน์ขั้นสูง เพราะปัจจุบันมีเครื่องมือออนไลน์มากมายที่ช่วยให้นักการตลาดและผู้ประกอบการสามารถสร้างงานที่มีคุณภาพสูงได้ด้วยตนเอง เช่น

 

Canva

มีเทมเพลตมากมายและใช้งานง่าย เป็นแพลตฟอร์มอเนกประสงค์ที่เหมาะสำหรับทุกระดับทักษะ เพราะมีอินเตอร์เฟซแบบลากและวาง ไม่ต้องมีทักษะด้านการออกแบบก็ใช้งานได้ รวมไปถึงรูปภาพ ไอคอน และองค์ประกอบกราฟิกฟรีและพรีเมียมให้เลือกใช้ นอกจากนี้ยังสามารถทำงานเป็นทีมและแชร์โปรเจกต์ได้อย่างง่ายดาย เหมาะสำหรับอินโฟกราฟิกที่ใช้ในโซเชียลมีเดีย การนำเสนอแบรนด์ และเนื้อหาการตลาด

 

อ่านเพิ่มเติม : Canva คืออะไร? แนะนำเครื่องมือออกแบบกราฟิกออนไลน์ สุดเจ๋ง

 

Piktochart

แพลตฟอร์มนี้มีความเชี่ยวชาญด้านการแสดงข้อมูลเชิงสถิติและข้อมูลเชิงลึก มีตัวเลือกขั้นสูงสำหรับการสร้างแผนภูมิและกราฟจากข้อมูลที่ซับซ้อน และรองรับการนำเข้าข้อมูลจากไฟล์ Excel, Google Sheets และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับรายงานการวิจัยตลาด การนำเสนอข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า หรือการวิเคราะห์แนวโน้มอุตสาหกรรม

 

Visme

ป็นเครื่องมือที่มีฟีเจอร์การสร้างอินโฟกราฟิกแบบโต้ตอบได้ สามารถเพิ่มองค์ประกอบได้ เช่น ปุ่ม ป๊อปอัพ หรือลิงก์เชื่อมโยง พร้อมตัวเลือกแอนิเมชันที่หลากหลายเพื่อสร้างอินโฟกราฟิกที่มีชีวิตชีวา เหมาะสำหรับการนำเสนอสำหรับลูกค้า เว็บไซต์ และเนื้อหาการตลาดดิจิทัลแบบโต้ตอบ

 

ปรับแต่ง SEO ให้กับ Infographic

อีกหนึ่งในเทคนิควิธีทำ seo คือ อย่าลืมใส่ Alt Text ให้กับรูปภาพอินโฟกราฟิกเมื่อนำไปใช้บนเว็บไซต์ พร้อมตั้งชื่อไฟล์ให้มีคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง และเขียนคำอธิบายใต้ภาพที่มีคีย์เวิร์ดสำคัญ

 

อย่าลืม! แชร์ผลงานลงบน Social Media ต่าง ๆ 

เลือกแพลตฟอร์มที่กลุ่มเป้าหมายอยู่ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Instagram Pinterest หรือ LinkedIn และปรับขนาดให้เหมาะกับแต่ละแพลตฟอร์ม

 

 

สรุป

 

อินโฟกราฟิกเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ทรงพลังในยุคดิจิทัลที่จะช่วยย่อยข้อมูลที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย สร้างความน่าสนใจ และยังเพิ่มโอกาสในการแชร์ ดังนั้นการสร้างอินโฟกราฟิกที่ดีต้องอาศัยการวางแผน การออกแบบที่เหมาะสม และการเลือกใช้องค์ประกอบต่าง ๆ อย่างลงตัว

 

หากคุณต้องการยกระดับการสื่อสารของธุรกิจด้วยอินโฟกราฟิกที่มีคุณภาพ Yes Web Design Studio พร้อมช่วยคุณ เราเป็นบริษัทเว็บดีไซน์ชั้นนำในไทยที่มีทีมออกแบบมืออาชีพที่เชี่ยวชาญที่ไม่เพียงแต่สร้างสรรค์งานออกแบบที่สวยงาม แต่ยังสื่อสารข้อมูลของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดต่อเราวันนี้เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบเว็บไซต์สำหรับธุรกิจของคุณ!

 

 

 

Yes Web Design Studio
📞 Tel. : 096-879-5445
📲 LINE : @yeswebdesign
📧 E-mail : info@yeswebdesignstudio.com
📍 Address : ชั้น 17 อาคารวิทยกิตติ์ ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 (สถานี BTS สยาม)

 

 

ข้อมูลจาก

https://www.adobe.com/uk/express/learn/blog/what-is-an-infographic

https://utw.ac.th/education/infographic/Page2.html

มีโปรเจกต์ในใจแล้วใช่ไหม ?