7Ps Marketing คืออะไร ส่วนผสมทางการตลาดมีอะไรบ้างที่ต้องรู้

บทความโดย Yes Web Design Studio

7Ps Marketing คืออะไร ส่วนผสมทางการตลาดมีอะไรบ้างที่คุณต้องรู้
Table of Contents

การตลาดเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และหนึ่งในแนวคิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ 7Ps Marketing ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักการตลาดและผู้ประกอบการสามารถวางแผนและพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ บทความนี้จะพาคุณทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด 7Ps รวมถึงวิธีนำไปใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ

 

 

7Ps Marketing คืออะไร?

 

7Ps Marketing คืออะไร?

รูปภาพจาก : Oxford College Of Marketing

 

โมเดล 7Ps เป็นการพัฒนาต่อยอดจาก 4Ps โดยเพิ่มองค์ประกอบใหม่เพื่อให้ครอบคลุมมิติต่าง ๆ ของการตลาดในปัจจุบัน ซึ่งโมเดลนี้ประกอบด้วยองค์ประกอบ 7 ประการที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนกลยุทธ์การตลาดได้อย่างรอบด้าน ได้แก่ Product Price Place Promotion People Process และ Physical Evidence ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

 

การพัฒนาจาก 4Ps สู่ 7Ps

เดิมทีโมเดล 4Ps ประกอบด้วย Product Price Place และ Promotion ซึ่งต่อมา นักวิชาการได้เพิ่มองค์ประกอบใหม่ 3 ประการ ได้แก่ People Process และ Physical Evidence เพื่อให้ครอบคลุมมิติต่าง ๆ ของการตลาดสมัยใหม่

 

 

ส่วนผสมทางการตลาดทั้ง 7 ประการ (7Ps) ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

 

Product (สินค้า/บริการ)

ผลิตภัณฑ์เป็นหัวใจหลักของการตลาด ซึ่งต้องสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างชัดเจน ซึ่งกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ควรคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า คุณภาพ และความแตกต่างจากคู่แข่ง และเทคนิคการพัฒนาสินค้าที่มีประสิทธิภาพคือการศึกษาความต้องการของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็น การใช้งาน หรือจุดขายที่โดดเด่น สร้างนวัตกรรมและคุณค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ควรอิงจากข้อมูลตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค รับฟังข้อเสนอแนะและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และการสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ช่วยเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน

 

Price (ราคา)

การตั้งราคาควรเชื่อมโยงกับความคาดหวังของลูกค้า และการรับรู้ถึงคุณค่าของสินค้าหรือบริการ เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ดังนั้นกลยุทธ์การตั้งราคาควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น ต้นทุน คู่แข่ง และคุณค่าที่ลูกค้ารับรู้ ซึ่งแนวทางการกำหนดราคาที่เหมาะสมมีดังนี้

  • วิเคราะห์ต้นทุนอย่างละเอียด ทั้งต้นทุนและกำไรที่ต้องการ
  • ศึกษาราคา พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายและแนวโน้มราคาตลาด
  • ศึกษาใช้กลยุทธ์ตั้งราคาหลากหลาย เช่น การกำหนดราคาแบบ Premium, Penetration หรือ Bundle Pricing

 

Place (ช่องทางการจัดจำหน่าย)

การเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสมช่วยให้สินค้าเข้าถึงลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งวิธีเลือกช่องทางการจำหน่ายควรวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย พิจารณาความสะดวกและความต้องการของลูกค้า และผสมผสานช่องทางการขายให้หลากหลาย

 

Promotion (การส่งเสริมการตลาด)

การสร้างการรับรู้และกระตุ้นความสนใจเป็นเรื่องสำคัญในการทำการตลาด ดังนั้นควรกลยุทธ์การส่งเสริมการขายควรมีความสร้างสรรค์และตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างชาญฉลาด สร้างคอนเทนต์หรือข้อความทางการตลาดควรน่าสนใจและตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ออกแบบโปรโมชันที่ดึงดูดลูกค้า หรือใช้ Influencer หรือรีวิวจากลูกค้าช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือ

 

People (บุคลากร)

บุคลากรถือเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร การพัฒนาทีมงานให้มีความรู้ ทักษะ และจิตวิญญาณการบริการจะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจ และมีผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์รวมถึงประสบการณ์ของลูกค้า ซึ่งแนวทางการพัฒนาบุคลากรสามารถทำได้โดยการฝึกอบรมพนักงานให้มีทักษะและความรู้เกี่ยวกับสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง พัฒนาทีมงานให้สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างเป็นมิตรและมืออาชีพ และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีที่จะช่วยส่งเสริมให้พนักงานทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ

 

Process (กระบวนการ)

กระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าและสามารถลดต้นทุนการดำเนินงานได้ ซึ่งวิธีปรับปรุงกระบวนการให้ดีขึ้น ได้แก่ ออกแบบขั้นตอนการให้บริการให้รวดเร็วและง่ายต่อการเข้าถึง ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยปรับปรุงการให้บริการ เช่น ระบบ AI Chatbot หรือ CRM สร้างมาตรฐานการบริการ และประเมินและปรับปรุงกระบวนการอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า

 

Physical Evidence (ลักษณะทางกายภาพ)

ประสบการณ์ทางกายภาพที่ลูกค้าได้รับมีส่วนสำคัญในการสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์และการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ดังนั้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีคือการออกแบบพื้นที่และบรรยากาศให้น่าประทับใจ เพื่อช่วยส่งเสริมประสบการณ์ของลูกค้า เช่น ร้านค้าต้องมีความสะอาดและเป็นระเบียบ และใช้องค์ประกอบทางกายภาพเพื่อสื่อสารคุณค่าของแบรนด์ เช่น การใช้บรรจุภัณฑ์ที่สื่อถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์

 

 

วิธีนำ 7Ps Marketing ไปใช้กับธุรกิจของคุณ

 

วิธีนำ 7Ps Marketing ไปใช้กับธุรกิจของคุณ

รูปภาพจาก : Smart Insights

 

การนำ 7Ps Marketing ไปใช้ต้องคำนึงถึงบริบทเฉพาะของแต่ละธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจออนไลน์มักให้ความสำคัญกับ Place และ Promotion ในการขยายฐานลูกค้า ซึ่งเป็นการปรับตัวตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการค้นหาสินค้าผ่านช่องทางดิจิทัล

 

ตัวอย่างการใช้ 7Ps ในธุรกิจออนไลน์และออฟไลน์

  • ร้านค้าปลีกสามารถใช้ Product และ Price เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม
  • ธุรกิจบริการสามารถใช้ People และ Process เพื่อพัฒนาให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด
  • แบรนด์ออนไลน์ต้องให้ความสำคัญกับ Place และ Promotion เพื่อขยายฐานลูกค้า

 

แนวทางการปรับใช้ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรม

  • ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มควรเน้น Product และ Physical Evidence เพื่อสร้างความแตกต่าง
  • ธุรกิจเทคโนโลยีต้องให้ความสำคัญกับ Process และ People เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานง่าย
  • ธุรกิจแฟชั่นและเครื่องสำอางต้องใช้ Promotion และ Place เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์

 

 

สรุป

7Ps Marketing Mix เป็นแนวคิดที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนและดำเนินกลยุทธ์ได้อย่างครอบคลุม ด้วยองค์ประกอบทั้ง 7 ด้านช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า การเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจอย่างเหมาะสมจะช่วยเพิ่มโอกาสในการแข่งขันและสร้างความสำเร็จในระยะยาว

 

หากคุณกำลังมองหาความช่วยเหลือในการพัฒนาเว็บไซต์หรือการตลาดดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจของคุณ เราขอแนะนำให้คุณติดต่อ Yes Web Design Studio เราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเว็บไซต์ SEO และการตลาดออนไลน์ครบวงจร พร้อมช่วยพัฒนาเว็บไซต์ที่เหมาะสมกับความต้องการทางธุรกิจของคุณให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

 

 

 

 

Yes Web Design Studio
Tel. : 096-879-5445
LINE : @yeswebdesign
E-mail : [email protected]
Address : ชั้น 17 อาคารวิทยกิตติ์ ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 (สถานี BTS สยาม)

มีโปรเจกต์ในใจแล้วใช่ไหม ?