เจาะลึก Modular Web Design เหตุผลที่ทำให้คุณหยุดใช้ Web template

บทความโดย Yes Web Design Studio

เมื่อพูดถึง Web template แล้ว คงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้คุณไม่ต้องเสียเวลาในการรอ custom website นั่นอาจจะเป็นข้อดีอย่างหนึ่ง หรือในกรณีที่คุณไม่มีเวลามากพอ ทำให้ Web template ตอบโจทย์คุณในตอนนั้น แต่ในวันนี้สำหรับใครที่กำลังวางแผนจะทำเว็บไซต์หรือเปลี่ยนดีไซน์เว็บใหม่ต้องลองอ่านบทความนี้ เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า Web template มี template ให้คุณเลือกมากมายหลากหลายแบบ 

และผู้ให้บริการในการสร้างเว็บไซต์มีมากมายหลากหลายเจ้า ไม่ว่าจะเป็น WordPress, Wix, Shopify, และเจ้าอื่นๆ ในทุกๆเจ้าก็จะมีดีไซน์เทมเพลตหน้าเว็บที่แตกต่างกันออกไปให้ดาวน์โหลด แต่อย่าลืมว่าเมื่อไหร่ที่คุณเลือกใช้เทมเพลตเหล่านั้น แน่นอนโอกาสที่ Layout หรือ ดีไซน์หน้าเว็บไซต์ของคุณจะมีโอกาสที่จะซ้ำกับธุรกิจอื่นเช่นกัน เพราะเทมเพลตเหล่านั้นส่วนใหญ่จะเปิดให้ใช้ฟรีและไม่สามารถดัดแปลง Layout ต่างๆได้ ฉะนั้นแล้วถ้าคุณต้องการความ unique ให้เว็บไซต์ การเลือกใช้ web template อาจไม่ใช่ตัวเลือกของคุณอีกต่อไปจริงหรือเปล่า

หัวข้อที่จะพูดถึงในบทความนี้ประกอบด้วย

  • ทำความรู้จักกับ Modular Design 
  • Modular Design Vs. Web Template
  • ตัวอย่างของเว็บไซต์ที่มีการออกแบบสไตล์ Modular
  • สรุป

ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มกันเลยครับ

ทำความรู้จักกับ Modular Design

จริง ๆ แล้วแนวคิดการออกแบบ Modular Design มีแนวคิดมาจาก Frank Ariss ซึ่งเป็นผู้ที่คิดค้นการออกแบบการจัดวางเนื้อหาบนหน้าหนังสือพิมพ์ที่เป็นที่โด่งดังและถูกนำไปใช้ในหลายๆประเทศ เมื่อ ค.ศ. 1970 ที่ประเทศบราซิล 

ถ้าคุณคุ้นเคยกับ WordPress มาก่อนนั่นหมายความว่าคุณก็ต้องรู้จัก template อย่างแน่นอน เพราะใน WordPress นั้นมี template ให้คุณเลือกใช้อย่างหลากหลาย ซึ่งโดยปกติแล้วเทมเพลตจะมีลักษณะการทำงานหรือรูปแบบที่ดูค่อนข้างแข็ง และไม่สามารถแก้ไขโมดูล

Modular Design ไม่ได้เป็นการดีไซน์จากเทมเพลต เพราะ Modular Design จะมีความแตกต่างจากเทมเพลต คือเป็นเทคนิคของการออกแบบอย่างหนึ่งที่ให้คุณสร้างรูปแบบการออกแบบเป็นบล็อกๆ โดยการออกแบบตามเส้น grid แต่ละดีไซน์จะพอดีกับช่องสี่เหลี่ยม ซึ่งถ้าเราเปลี่ยนรูปแบบการดีไซน์จากเทมเพลตธรรมดาๆไปเป็นโมดูล มันจะดูเหมือนกับจิ๊กซอที่นำมาประกอบกัน ดูเป็นสัดส่วนอย่างลงตัว

Modular Design Vs. Web Template

ถ้าต้องเปรียบเทียบระหว่าง Modular Design กับ Template แล้วก็คงพูดได้ว่าทั้งสองก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียเหมือนๆกัน แต่สิ่งที่ผมอยากให้คุณมองคือ ความต้องการของคุณมากกว่า 

หมายความว่าอย่างไร? หมายความว่า ถ้าคุณต้องการเว็บไซต์ในเวลาอันสั้น เทมเพลตถือเป็นตัวเลือกสำหรับคุณ แต่ถ้าคุณต้องการเว็บไซต์ที่มีความแตกต่างจากคนอื่น การดีไซน์แบบ Modular Design จะเหมาะกับคุณมากกว่า ดังนั้นแล้วในข้อนี้ เราแค่ต้องการที่จะเปรียบเทียบให้คุณเห็นถึงจุดเด่นและจุดอ่อนของทั้งสองแบบให้คุณได้ลองตัดสินใจเลือกใช้จะดีกว่า

Modular Design

จุดแข็ง

มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ในการดีไซน์แบบ Modular Design นั้นมันจะง่ายต่อการแก้ไขมาก คุณสามารถเข้าไปจัดการโมดูลส่วนต่างๆได้ ปรับ ขยับ เปลี่ยน ได้ตามความต้องการ ซึ่งจะไม่เหมือนกับเทมเพลต ที่คุณไม่สามารถแก้ไขโมดูลได้เลย เป็นมาเช่นไรก็คงเป็นเช่นนั้น จะเปลี่ยนได้แค่คอนเทนต์ ส่วนการปรับโมดูลต่างๆนั้น ทำไม่ได้อย่างแน่นอน

ประหยัดเวลาและต้นทุน เพราะในการออกแบบแบบ Modular Design มันจะช่วยลดไทม์ไลน์ในการออกแบบลง และยังช่วยประหยัดเวลาได้มากขึ้น ด้วยโมดูลที่ถูกสร้างไว้แล้วมันก็สามารถนำไปใช้กับโปรเจคในอนาคตได้ด้วย “Mix & match” ทำให้ลดเวลาและต้นทุนในการออกแบบลงอีก 

สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว คุณลองจินตนาการดูว่าหากเว็บไซต์มีการเปลี่ยนแปลงดีไซน์เกิดขึ้นอาจจะไม่ใช่ 1-2 ปีข้างหน้า แต่เป็นอีกไม่นานนี้ ด้วย Modular Design เป็นสไตล์การออกแบบที่ถูกออกแบบให้ง่ายต่อการจัดการและแก้ไขที่อาจเกิดขึ้นได้

จุดอ่อน

ความเร็วลดลง โมดูลที่มากเกินไปอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เว็บไซต์โหลดช้าขึ้น

แก้ไขยาก การแยกโมดูลที่มากเกินไปหรือไม่ดีอาจทำให้เสียเวลาแก้ไข code หรืออ่าน code บางตัวไม่ออกนั่นเอง

Web Template

จุดแข็ง

ประหยัดเวลา หากคุณไม่มีเวลามากพอที่จะดีไซน์เว็บไซต์ขึ้นมาใหม่ การเลือกใช้เทมเพลตจะช่วยให้คุณมีเวลาทำอย่างอื่นมากขึ้น

มีให้เลือกมากมาย แน่นอนว่าหากเลือกใช้เทมเพลตคุณจะสามารถเลือกใช้เทมเพลตได้หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่จะฟรี

จุดอ่อน

แก้ไขไม่ได้ เนื่องจากเทมเพลตถูกสร้างขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์ เราไม่สามารถที่จะแก้ไขโครงสร้างหรือโมดุลต่างๆของหน้าเว็บไซต์ ได้เหมือนกับ Modular design

ไม่มีความเป็นเอกลักษณ์ เทมเพลตฟรีเหล่านี้ คุณคิดเหรอว่าหน้าเว็บไซต์ของคุณโดดเด่นไม่เหมือนใคร เพราะเทมเพลตฟรีเหล่านี้ใครๆก็สามารถโหลดไปใช้ได้

คราวนี้คุณก็ได้เห็นจุดอ่อนและจุดแข็งของทั้ง Modular Design และ Web template ไปแล้ว ถัดมาเราจะพาคุณไปดูตัวอย่างของการออกแบบหน้าเว็บไซต์แบบ Modular Design 

ตัวอย่างของเว็บไซต์ที่มีการออกแบบสไตล์ Modular Design

https://academist.qodeinteractive.com/boxed-showcase/?utm_source=pinterest&utm_medium=pin&utm_campaign=elated

https://www.behance.net/gallery/18988225/B-Yoga-Website

สรุป

จากเนื้อหาของบทความนี้คุณก็พอจะเห็นข้อแตกต่างของการออกแบบทั้ง 2 แบบไปแล้วว่าทั้งสองแบบมีจุดแข็งและจุดอ่อนเป็นอย่างไร การออกแบบเว็บไซต์แบบ Modular นี้ก็สามารถนำคุณไปสู่ภาพลักษณ์ของดีไซน์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร และประหยัดทั้งงบและเวลา และในขณะเดียวกัน template ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับงานเร่งงานรีบอีกด้วย หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกใช้แบบการดีไซน์หน้าเว็บไซต์ได้เร็วขึ้น

ต้องการปรึกษาหรือวางแผนปรับเปลี่ยนรูปแบบการดีไซน์ของหน้าเว็บไซต์ปัจจุบันหรือสร้างเว็บไซต์ใหม่ ติดต่อเราได้ที่ โทร 096-879-5445 หรือ แอดไลน์ @yeswebdesign ปรึกษาฟรี!!!

————————————————————————————————————–

————————————————————————————————————–

และช่องทางอื่นๆที่คุณก็สามารถแวะไปทักทายกันได้ที่…

Facebook : yeswebdesignstudio

Instagram : yeswebdesign_bkk

Twitter : yeswebdesignbkk 

References

https://spyrestudios.com/modular-web-design-advantages-and-disadvantages/

https://blog.jdrgroup.co.uk/digital-prosperity-blog/7-reasons-not-to-use-a-website-template

https://www.elinext.com/blog/modular-web-design/#:~:text=In%20modular%20web%20design%20the,and%20well%2Dplanned%20system%20logic.

มีโปรเจกต์ในใจแล้วใช่ไหม ?