Search Intent คืออะไร? เลือกคีย์เวิร์ดให้โดนใจผู้ใช้งานด้วย SEO

บทความโดย Yes Web Design Studio

บทความ Search Intent คืออะไร เลือกคีย์เวิร์ดให้โดนใจผู้ใช้งาน
Table of Contents

การเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในโลกของการตลาดดิจิทัล ซึ่งหากเข้าใจความต้องการของผู้ใช้จากคำค้นหา ก็จะสามารถช่วยให้คุณสร้างเนื้อหาที่ตรงกับความต้องการและเพิ่มโอกาสในการดึงดูดทราฟฟิกมายังเว็บไซต์ของคุณได้มากขึ้น และบทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับ Google Search Intent หรือความตั้งใจในการค้นหา ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำ SEO ในปัจจุบัน 

 

 

ทำความรู้จักกับ Search Intent

 

Search Intent คืออะไร

รูปภาพจาก : Quatrtr

 

Search Intent หมายถึง เจตนาหรือจุดประสงค์ที่อยู่เบื้องหลังการค้นหาข้อมูลของผู้ใช้งานบนเสิร์ชเอนจิน ไม่ว่าผู้ใช้จะพิมพ์คำค้นหาอะไรก็ตาม มักจะมีความต้องการบางสิ่งบางอย่างเสมอ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล สินค้า หรือบริการเฉพาะ ซึ่งการเข้าใจถึงเจตนาเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถปรับแต่งเนื้อหาให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างแม่นยำ

 

ยกตัวอย่างเช่น คำค้นหา “วิธีทำกาแฟ” กับ “ซื้อเครื่องชงกาแฟ” มีความตั้งใจที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน คนที่ค้นหาวิธีทำกาแฟต้องการข้อมูลและคำแนะนำ ในขณะที่คนที่ค้นหาเครื่องชงกาแฟมีความตั้งใจที่จะซื้อสินค้า

 

Search Intent สำคัญอย่างไรกับ SEO

การเข้าใจ Search Intent มีความสำคัญต่อการทำ SEO อย่างมาก เพราะสามารถช่วยให้คุณสร้างเนื้อหาที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ส่งเสริมให้เพิ่มอัตราการคลิกและเวลาที่ผู้ใช้อยู่บนเว็บไซต์ และช่วยลดอัตราการตีกลับ (Bounce Rate) และยังเพิ่มโอกาสในการติดอันดับบนหน้าแรกของ Google อีกด้วย

 

และเมื่อคุณสร้างเนื้อหาที่ตรงกับความตั้งใจของผู้ใช้ ผู้ใช้งานก็จะได้รับประสบการณ์ที่ดีและมีแนวโน้มที่จะกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณอีกครั้ง

 

ผลกระทบของ Search Intent ต่ออัลกอริทึม Google

Google ได้พัฒนาอัลกอริทึมเข้าใจความตั้งใจของผู้ใช้มากขึ้น โดยเฉพาะการบูรณาการ AI และ NLP ขั้นสูง ที่ต่อยอดมาจาก BERT และ MUM ที่ทำให้มีความสามารถในการประมวลผลภาษาธรรมชาติและเข้าใจบริบทของคำค้นหาได้ดียิ่งขึ้น Google จึงให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่ตอบสนองต่อความตั้งใจของผู้ใช้มากกว่าการเน้นไปที่คีย์เวิร์ดเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากเนื้อหาของคุณไม่ตรงกับความตั้งใจของผู้ใช้ โอกาสที่จะติดอันดับต้น ๆ บน Google จะลดลงอย่างมาก

 

 

Search Intent มีกี่ประเภท? และการสร้างเนื้อหาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

 

Search Intent มีกี่ประเภท? และการสร้างเนื้อหาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

รูปภาพจาก : seer interative

 

Informational Intent – ค้นหาข้อมูลทั่วไป

การค้นหาประเภทนี้คือการค้นหาที่ผู้ใช้ต้องการข้อมูลหรือคำตอบสำหรับคำถามของผู้ใช้ โดยมักจะเริ่มต้นด้วยคำถาม เช่น “อะไร” “ทำไม” “อย่างไร” หรือ “วิธี” ซึ่งเนื้อหาที่ตอบสนองต่อ Informational Intent ควรมีความละเอียด ครอบคลุม และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ การใช้ภาพประกอบ วิดีโอ หรือแผนภูมิสามารถช่วยอธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น หรือเพิ่ม FAQ หรือคำถามที่พบบ่อย

 

Navigational Intent – ค้นหาเว็บไซต์หรือแบรนด์โดยเฉพาะ

เป็นการค้นหาที่ผู้ใช้ต้องการไปยังเว็บไซต์หรือหน้าเว็บเฉพาะ โดยมักจะระบุชื่อแบรนด์หรือเว็บไซต์ในคำค้นหา เช่น “Facebook login” หรือ “Instagram” ซึ่งการค้นหารูปแบบนี้ควรมีการเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บที่ผู้ใช้กำลังมองหา หรือมีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับแบรนด์หรือเว็บไซต์นั้น ๆ ที่ทำให้การนำทางภายในเว็บไซต์เป็นเรื่องง่าย

 

Transactional Intent – ค้นหาเพื่อซื้อสินค้า/บริการ

เป็นการค้นหาที่ผู้ใช้มีความตั้งใจที่จะซื้อสินค้าหรือบริการ โดยมักจะมีคำที่แสดงถึงการซื้อหรือการทำธุรกรรม เช่น “ซื้อ iPhone 15 Pro Max” หรือ “จองโรงแรมในภูเก็ต” 

 

สำหรับเนื้อหาที่ตอบสนองต่อ Transactional Intent ควรมีข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ชัดเจน รวมถึงราคา โปรโมชั่น และลิงก์ไปยังหน้าชำระเงิน

 

Commercial Investigation – ค้นหาข้อมูลเปรียบเทียบก่อนซื้อ

การค้นหาที่ผู้ใช้กำลังอยู่ในขั้นตอนการตัดสินใจซื้อ แต่ยังต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเปรียบเทียบตัวเลือกต่าง ๆ เช่น “เปรียบเทียบ iPhone 15 กับ Samsung S23” หรือ “รีวิวเครื่องซักผ้า LG”

 

สำหรับเนื้อหาที่ตอบสนองต่อ Commercial Investigation ควรมีการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของตัวเลือกต่างๆ รีวิวที่เป็นกลาง และข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจ

 

 

วิธีเลือกคีย์เวิร์ดให้ตรงกับ Search Intent

การใช้เครื่องมือค้นหาคีย์เวิร์ด

การใช้ SEO Tools ในการทำ Keyword Research เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ Search Intent เนื่องจากสามารถช่วยให้คุณเห็นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการค้นหา การแข่งขัน และคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องได้ เช่นการใช้ เช่น Google Keyword Planner, Ahrefs

 

การใช้ Google Keyword Planner

  1. เริ่มต้นด้วยคีย์เวิร์ดหลักที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ
  2. ดูคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องที่ Google แนะนำ
  3. วิเคราะห์ปริมาณการค้นหาและการแข่งขัน
  4. แยกคีย์เวิร์ดตามประเภทของ Search Intent

 

การใช้ Ahrefs

  1. วิเคราะห์คีย์เวิร์ดที่คู่แข่งกำลังติดอันดับ
  2. ค้นหาคีย์เวิร์ดที่มีปริมาณการค้นหาสูงแต่การแข่งขันต่ำ
  3. สำรวจคำถามที่ผู้ใช้มักถามเกี่ยวกับหัวข้อของคุณ
  4. วิเคราะห์ความยากง่ายในการติดอันดับสำหรับคีย์เวิร์ดนั้น ๆ

 

วิเคราะห์ SERP เพื่อตรวจสอบความตั้งใจของผู้ใช้

การวิเคราะห์หน้าผลการค้นหา (SERP – Search Engine Results Page) เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเข้าใจ Search Intent เนื่องจาก Google พยายามแสดงผลลัพธ์ที่ตรงกับความตั้งใจของผู้ใช้มากที่สุด ซึ่งวิธีวิเคราะห์สามารถทำให้ดังนี้

  1. พิมพ์คีย์เวิร์ดที่คุณสนใจลงใน Google
  2. สังเกตประเภทของเนื้อหาที่ติดอันดับต้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความ หน้าสินค้า หรือวิดีโอ
  3. วิเคราะห์รูปแบบและโครงสร้างของเนื้อหา
  4. สังเกตฟีเจอร์พิเศษที่ปรากฏบน SERP เช่น Featured Snippet, People Also Ask หรือ Knowledge Panel

 

 

สรุป

การเข้าใจ Search Intent เป็นกุญแจสำคัญในการทำ SEO ให้ประสบความสำเร็จ เมื่อคุณสามารถระบุได้ว่าผู้ใช้กำลังมองหาอะไรจากคำค้นหา คุณจะสามารถสร้างเนื้อหาที่ตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้อย่างตรงจุด ซึ่งจะส่งผลให้เว็บไซต์ของคุณมีโอกาสติดอันดับต้น ๆ บน Google มากขึ้น

 

นอกจากนี้การวิเคราะห์ Search Intent ควรเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ SEO ของคุณ โดยเริ่มจากการใช้เครื่องมือค้นหาคีย์เวิร์ด การวิเคราะห์ SERP และการสร้างเนื้อหาที่ตรงกับความตั้งใจของผู้ใช้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้และเพิ่มโอกาสในการเติบโตของธุรกิจออนไลน์ของคุณ

 

หากเว็บไซต์ของคุณไม่มี Traffic เข้ามาเลย ดูไม่น่าใช้งาน หรือต้องการทำเว็บไซต์ใหม่ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าของคุณ สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของ Yes Web Design Studio ได้เลย เราเป็นบริษัทเว็บดีไซน์แนวหน้าในไทย รับทำเว็บไซต์ครบวงจร ซึ่งรวมไปถึงบริการรับทำ SEO และการตลาดออนไลน์ด้วยเช่นกัน

 

 

 

 

Yes Web Design Studio
Tel. : 096-879-5445
LINE : @yeswebdesign
E-mail : [email protected]
Address : ชั้น 17 อาคารวิทยกิตติ์ ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 (สถานี BTS สยาม)

มีโปรเจกต์ในใจแล้วใช่ไหม ?