Trigger ประเภทต่างๆ ใน Google Tag Manager

บทความโดย Yes Web Design Studio

Google Tag Manager

บทความโดย Yes Web Design Studio

คุณจะเข้าใจบทความนี้ได้มากขึ้นถ้าคุณเคยอ่านบทความเรื่อง วิธีการติดตั้ง Google Tag Manager มาแล้ว

Google Tag Manager หรือ GTM สำหรับใครที่ได้อ่านบทความก่อนหน้านี้ ที่เราได้เขียนเกี่ยวกับวิธีการติดตั้ง Google Tag Manager ไปนั้น จากบทความนั้นเราจะเน้นเกี่ยวกับวิธีการติดตั้งและใช้งานในเบื้องต้น แต่ในบทความนี้เราจะมาแชร์วิธีการ Track หรือติดตามพฤติกรรมของผู้เข้าชมเว็บไซต์ในรูปแบบต่างๆที่คุณสามารถนำไปใช้กับเว็บไซต์ของคุณ เพื่อดูข้อมูลเชิงลึกที่เก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้เข้าชมเว็บไซต์ของเราได้นั่นเอง

ทวนกันซักหน่อยก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่ใจความหลักของบทความนี้

จำได้หรือไม่ครับว่า 

Google Tag Manager คืออะไร?

มีโครงสร้างลักษณะการทำงานเป็นอย่างไร?

สามารถดูผลลัพธ์ของการ Track ได้ที่ไหน?

เพราะเป้าหมายของการใช้เครื่องมือนี้ก็เพื่อที่จะดูข้อมูลของผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์ ที่เราสามารถเป็นผู้กำหนดได้ด้วยการใช้เครื่องมือดังกล่าว หลังจากที่เราได้ข้อมูลมาแล้วเรายังสามารถนำนี้ไปวิเคราะห์ทั้งทางด้านการตลาด การพัฒนาโมเด็ลทางธุรกิจได้อีกด้วย 

Google Tag Manager คือ เครื่องมือที่มีชุดคำสั่งใช้ติดตามพฤติกรรมของผู้เข้าชมเว็บไซต์หรือบนแอปพลิเคชั่นได้อย่างง่ายและมีประสิทธิภาพและที่สำคัญ คุณสามารถใช้งานได้ฟรี และไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดหรือมีความรู้ด้านโปรแกรมมิ่งมาก่อนก็สามารถทำได้

ซึ่งโครงสร้างการทำงานของ Google Tag Manager นั้นก็จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันนั่นก็คือ Tag, Trigger, Variable ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้จะทำหน้าที่ร่วมกัน เพื่อสร้างชุดคำสั่งขึ้นมาและติด tag คำสั่งนี้บนหน้าเว็บไซต์ของเรานั่นเอง

บางเริ่มใช้งานแล้วอาจจะมีสงสัยกันว่า อ้าว ติด tag แล้วจะไปดูผลลัพธ์ได้ที่ไหน ต้องบอกแบบนี้ครับว่าตัว Tag นี้เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าสร้างชุดคำสั่งขึ้นมาเท่านั้น ดังนั้นการที่เราจะดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้น เราต้องเลือกที่จะเชื่อมต่อกับ Google Analytics เพื่อ Tag ที่เราติดตั้ง แสดงผลในแพลทฟอร์มนั้นอีกที

เริ่มกันที่ Trigger ตัวแรก นั่นก็คือ Page view 

Pageview นั้นคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร?

คุณเคยอยากทราบจำนวนผู้ชมหน้าเว็บไซต์นั้นๆหรือไม่ เพราะใน GTM จะมี trigger ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นชุดคำสั่งที่คอยเก็บค่าและนับจำนวนผู้เข้าชมหน้าเว็บนั้นๆ ซึ่ง trigger ตัวนี้จะใช้ประกอบกับ Tag และ Variable โดยสามารถกำหนดเงื่อนไขการทำงานให้มีการทำงานในทุกๆหน้าของเว็บไซต์ (All Page Views) หรือ (Some Page Views) ในตรงนี้คุณก็สามารถสร้างเงื่อนไขใน Trigger อีกทีได้ว่าต้องเกิดเงื่อนไขนี้ก่อนแล้วจึงให้ trigger page views มีการทำงาน เช่น สร้าง Trigger Page Views ขึ้นมา เลือกไปที่ Some Page Views จากนั้น เลือก Variable เป็น Click Class (*ในการเลือกเงื่อนไข GTM จะมีทั้งตัว Default มาให้เราเลือกและถ้าต้องการสร้าง Variable เองก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน) จากนั้นเลือก contains และใส่ค่า ตามที่เราต้องการ จากนั้นเมื่อระบบตรวจสอบแล้วว่า การใช้งานของ user ตรงตามเงื่อนไขที่เรากำหนด Trigger และ Tag จึงจะเริ่มทำงาน และข้อมูลจะถูกส่งไปรายงานยัง Google Analytics 

คำถามคือ ในเมื่อ Google Analytics มีการนับค่าและรายงานผล Page views ได้เหมือนกัน จำเป็นต้องใช้ GTM อยู่มั้ย?

ตอบ เพราะว่าถ้าเราต้องการดูค่าเชิงลึก การจะใช้ GA อย่างเดียวไม่พอสำหรับการจะวัดค่าได้ จึงจำเป็นต้องใช้ GTM เข้ามาช่วยให้การวิเคราะห์หรืออ่านค่านั้น ละเอียด และชัดเจนมากยิ่งขึ้น

อยากรู้ว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์ คลิกตรงส่วนไหนของเว็บไซต์เราบ้าง ต้อง Trigger ตัวนี้เลย Click 

Click ตามชื่อก็บอกแล้วว่าเป็น trigger ประเภทการ คลิก นั่นเอง ซึ่ง trigger ประเภทนี้จะเป็นชุดคำสั่งที่ทำการนับค่าของผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์และทำการคลิกส่วนใดส่วนหนึ่งบนหน้าเว็บไซต์ของเรานั่นเอง แต่รูปแบบของการทำงานนั้นเราสามารถทำการกำหนดได้ เนื่องจากว่า trigger ตัวนี้จะแบ่งประเภทการคลิกออกเป็น 2 แบบด้วยกัน การคลิกในทุกๆ Element บนหน้าเว็บไซต์และการคลิกลิงก์ที่อยู่ในเว็บไซต์ของเรา

เช่นเดียวกันกับ Page Views Trigger ที่คุณจำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขก่อน หรือถ้าไม่ต้องการจะกำหนดก็ให้เลือก Click all ตัว Tag ก็จะทำงานทุกครั้งเมื่อมีคนคลิกบนหน้าเว็บไซต์ของเรา ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการทราบว่ามีคนที่คลิกดูภาพบนเว็บไซต์หรือไม่ คุณจะต้องเลือกเงื่อนไขการทำงานเป็น Some Clicks 

จากนั้นเลือก Variable เพื่อให้ Tag ทำงาน เลือกเป็น Class ของรูปนั้นๆที่เราต้องการติด Tag จากนั้นเลือก contains และใส่ค่าของ Class นั้นลงไปและกด Save 

มีคอนเทนต์วิดีโอบนเว็บไซต์ อยากรู้ว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์กดคลิกเล่นวิดีโอหรือไม่ ต้อง Trigger ประเภท User Engagement 

ใช่ครับ เครื่องมือตัวนี้มันสามารถทำได้จริงๆ Trigger ประเภท User Engagement นี้มันจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ Element Visibility, Form Submission, Scroll Depth, YouTube Video และตามหัวข้อนี้ก็จะพูดถึงเรื่องการ trigger ผู้ใช้ที่เข้ามาชมวิดีโอบนเว็บไซต์ของเรานั้น โดยใน trigger ประเภทนี้เราสามารถกำหนดได้ว่าจะให้มีการเริ่มเก็บค่าตอนไหน เช่น ตอนเริ่มกดเล่น ดูวิดีโอจบ กดหยุดหรือแม้กระทั่งตอนกำลังดูวิดีโออยู่ก็ตาม และเช่นเดียวกันกับ trigger อื่นๆที่ผ่านมาคือเราสามารถสร้างเงื่อนไข Variable ขึ้นมาอีกได้เช่นเเดียวกัน

สรุป 

จากทั้งหมดรูปแบบ Trigger แบบต่างๆ เราเชื่อว่าคุณสามารถนำไปลองใช้งานกับเว็บไซต์คุณได้และคุณสามารถนำข้อมูลการรายงานผลจากพฤติกรรมของผู้ใช้งานไปปรับใช้ในกลยุทธ์ทางการตลาดและทางธุรกิจเพื่อให้ตอบโจทย์ต่อวิสัยทัศน์ขององค์กรคุณและตอบโจทย์ต่อการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณอีกด้วย ติดตามบทความทางการตลาดที่คุณสามารถนำไปต่อยอดในธุรกิจของคุณได้ที่นี่ Yes Web Design Studio

————————————————————————————————————–

และช่องทางอื่นๆที่คุณก็สามารถแวะไปทักทายกันได้ที่…

Facebook : yeswebdesignstudio

Instagram : yeswebdesign_bkk

Twitter : yeswebdesignbkk 

มีโปรเจกต์ในใจแล้วใช่ไหม ?