คุณเคยได้ยินคำว่า “สีสร้างแบรนด์” ผ่านหูผ่านตามาบ้างหรือเปล่า? ต้องบอกว่าประโยคนี้เป็นเรื่องจริง สำหรับคนที่อยากสร้างแบรนด์หรือทำธุรกิจให้ปังในปี 2023 นี้ คุณไม่ควรพลาดกลยุทธ์สีแบรนด์ (Brand Color) เป็นอันขาด! สำหรับวันนี้ Yes Web Design Studio (เยส เว็บ ดีไซน์ สตูดิโอ) จะมาอธิบายความสำคัญของสีแบรนด์ และความเชื่อมโยงกันระหว่างสีกับการสร้างแบรนด์ให้รู้กัน!
เลือกสีแบรนด์ที่บ่งบอกความเป็นคุณ
สีของแบรนด์ (Brand Color) เปรียบเสมือนตัวตนหรือบุคลิกของแบรนด์ ดังนั้น สีจึงมีอิทธิพลอย่างมาก เพียงเห็นแค่ครั้งเดียวก็ทำให้เกิดภาพจำได้แล้ว ลองคิดภาพดูว่าหากทุกแบรนด์ในโลกนี้ สร้างโลโก้แบรนด์เป็นสีขาวธรรมดาทั่วไปเหมือนกันหมด ก็จะไม่เกิดความแตกต่าง ไม่มีใครเด่นไปกว่าใคร ผู้คนก็จะมองแบรนด์ทุกแบรนด์เหมือน ๆ กันหมด และเกิดการสับสนได้
ในทางกลับกัน หากแบรนด์แต่ละแบรนด์มีการนำสีไปใส่ในโลโก้แบรนด์ และสีนั้นบ่งบอกความเป็นแบรนด์ได้เป็นอย่างดี ก็จะทำให้ผู้คนรับรู้ได้ว่าสีอะไร เป็นตัวแทนของแบรนด์ไหนนั่นเอง แม้สีกับการสร้างแบรนด์ ดูเหมือนจะเป็นคนละเรื่องกัน แต่กลับเป็นสิ่งที่สามารถชี้วัดการเติบโตของแบรนด์ได้เลย
เริ่มต้นจากหาตัวตนของคุณ
ก่อนนำสีกับการสร้างแบรนด์มาเชื่อมต่อกัน คุณจะต้องหาตัวของคุณหรือตอบคำถามตัวเองให้ได้ก่อนว่าองค์กรของคุณคือใคร? คุณจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายของแบรนด์, กำหนดกลุ่มเป้าหมายว่าเป็นใคร, กลุ่มเป้าหมายคิดและต้องการอะไร, คู่แข่งคือใคร กำลังทำอะไรอยู่, จุดเด่นหรือจุดแข็งของคุณคืออะไร หรืออยากให้ลูกค้ามีภาพจำของแบรนด์คุณอย่างไร จากนั้น ค่อยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่าสีไหนเหมาะกับแบรนด์ของเรามากที่สุด
ความหมายของสีแบรนด์ (Brand Color)
หากคุณลองสังเกตหรือนึกย้อนกลับไปตอนที่เห็นโลโก้ของแบรนด์ต่าง ๆ คุณจะพบว่าทุกแบรนด์มีการใช้สีแตกต่างกันไป นั่นเป็นเพราะว่าแบรนด์แต่ละแบรนด์มีการวางเรื่องราวของแบรนด์ หรือกำหนดภาพจำของแบรนด์ไม่เหมือนกัน และยังรวมไปถึงกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันด้วย
สีแบรนด์ (Brand Color) แต่ละสี จะให้ความหมายที่แตกต่างกัน คุณลองศึกษาเรื่องความหมายของสีแบรนด์ในบทความนี้ดูก่อนได้เลย จากนั้นค่อยนำไปพิจารณาว่าแบรนด์ของคุณเหมาะกับสีอะไร
ซึ่งสีของแบรนด์ที่เรานำมาแนะนำในบทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น หากคุณมองว่าแบรนด์ของคุณควรใช้สีอื่น ๆ อย่างสีม่วง สีชมพู สีเขียวหัวเป็ด สีฟ้าน้ำทะเล สีโอลด์โรส ฯลฯ ก็สามารถใช้สีเหล่านั้นได้ ไม่จำเป็นต้องยึดติดภาพว่าจะต้องเป็นสีแดง น้ำเงิน เหลือง หรือเขียวเท่านั้น
เครดิตภาพ Budweiser
สีแบรนด์สีแดง (Red Branding)
สีแบรนด์สีแดงเป็นสีที่มีพลังและเปี่ยมล้นไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะความตื่นเต้นเร้าใจ, ความมุ่งมั่น, ความตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า, ความกล้าหาญ ความเป็นผู้นำ, ความน่าเชื่อถือ และความมุ่งมั่น สีแดงช่วยกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกได้ดี อีกทั้งยังดูโดดเด่นสะดุดตา จึงทำให้แบรด์ดัง ๆ หลายแบรนด์เลือกใช้สีนี้เป็นสีประจำองค์กร อีกทั้งยังใช้ในป้าย Sale ต่าง ๆ ด้วย
ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้สีแดงเป็นสีประจำองค์กร : Budweiser, Coca-Cola, Netflix, H&M, Youtube, KFC, KitKat, Pizza Hut, Canon, Huawei, TipCo, Nintendo, Toyota, Makro ฯลฯ
เครดิตภาพ Snapchat
สีแบรนด์สีเหลือง (Yellow Branding)
เห็นสีเหลืองทีไร ความพลังงานแห่งความสุขก็พวยพุ่งขึ้นมาให้รับรู้ได้อย่างชัดเจน สีเหลืองจึงมักจะเป็นตัวแทนถึงรอยยิ้ม มิตรภาพอันดีงาม ความร่าเร่ง ควาเพลิดเพลิน ความหวัง และให้พลังงานที่สดใส เราจะเห็นได้ว่าแบรนด์ที่มีจุดขายด้านความเป็นมิตร มักจะใช้สีเหลืองเป็นสรประจำองค์กร
ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้สีเหลืองเป็นสีประจำองค์กร : Snapchat, Mc Donald’s, DHL, Nok Air, Schwepper, Banana IT, Chupa Chupa, Kodak ฯลฯ
เครดิตภาพ McKinsey
สีแบรนด์สีน้ำเงิน (Blue Branding)
สีน้ำเงินแสดงถึงความน่าเชื่อถือ ความน่าไว้วางใจ ความซื่อสัตย์ภักดี ความแข็งแรง ความแน่วแน่ และความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังมีความสงบเรียบร้อย สง่างาม และน่าเคารพคบหาอีกด้วย ดังนั้น จึงทำให้สีน้ำเงินเป็นสียอดฮิตที่ใช้ในการสร้างแบรนด์ ได้รับความนิยมไม่แพ้กับสีแดงเลย
ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้สีน้ำเงินเป็นสีประจำองค์กร : McKinsey, Facebook, PTT, Nokia, Est Cola, Ford, Panasonic, Samsung, Visa, IBM, BMW, WordPress, Dell, Oreo, Pepsi ฯลฯ
เครดิตภาพ Fidelity
สีแบรนด์สีเขียว (Green Branding)
ดูเหมือนว่าสีแบรนด์สีเขียวมักจะถูกใช้กับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ เพราะสีเขียวเปรียบเสมือนกับธรรมชาติ ให้ความรู้สึกร่มรื่นสบายตาและสบายใจ ซึ่งความหมายของสีเขียวไม่ได้มีเท่านี้อย่างแน่นอน เพราะสีเขียวยังหมายถึงความสันติ ความสมดุล ความโชคดี ความปลอดภัย ความเจริญรุ่งโรจน์ และสุขภาพที่ดีอีกด้วย
ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้สีเขียวเป็นสีประจำองค์กร : Fidelity, Starbucks Coffee, Grab, Milo, LINE, AIS, SENA, Chang, Oppo, Unif, Kasikorn Bank ฯลฯ
สรุป
เราต้องเลือกสีแบรนด์ หรือ Brand Color ที่สะท้อนภาพของแบรนด์ออกไปได้จริง ๆ อย่าง Yes Web Design Studio เราเลือกใช้สีแดงที่สื่อถึงความมีพลัง ความไฟแรง ความุ่งมั่น และความน่าเชื่อถือ เพื่อให้ผู้คนจดจำว่าเราเป็นบริษัททำเว็บไซต์มืออาชีพ ที่มีความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์เว็บไซต์ให้กับลูกค้าทุกคน
นอกจาก สีแบรนด์ (Brand Color) จะสะท้อนตัวตนและวัฒนธรรมองค์กรได้แล้ว ยังช่วยสื่อสารและเชื่อมโยงความรู้สึกของคุณ ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย สุดท้ายนี้! อย่าลืมว่าหลังจากที่เรากำหนดสีของแบรนด์ได้แล้ว เราต้องนำชุดสีดังกล่าวไปใช้ในการสร้างสรรค์งานกราฟิก ออกแบบเว็บไซต์ และดำเนินงานต่าง ๆ ที่มีการใช้สีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้ภาพรวมของแบรนด์และ Mood & Tone อยู่ในทิศทางเดียวกัน
รับสร้างแบรนด์และทำการตลาด ติดต่อเลย!
Tel. : 096-879-5445
LINE : @yeswebdesign
E-mail : [email protected]
Facebook : Yes Web Design Studio I Web Design Company Bangkok
Instagram : yeswebdesign_bkk
Address : ชั้น 17 อาคารวิทยกิตติ์ ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 (สถานี BTS สยาม)